做试管婴儿的主要荷尔蒙,What are the important hormones in ICSI program,ฮอร์โมนที่สำคัญในการทำ ICSI มีอะไรบ้าง

ฮอร์โมนที่สำคัญในการทำ ICSI มีอะไรบ้าง

การทำอิ๊กซี่ ราคา

1. Anti-Mullerian Hormone (AMH) เป็นตัวบ่งบอกความสามารถในการทำงานของรังไข่หรือบอกจำนวนไข่ที่สามารถผลิตได้

ระดับค่า AMH สูง แสดงว่าจำนวนไข่สะสมมาก มีโอกาสมีปริมาณและคุณภาพไข่ดี ถ้าระดับต่ำ บ่งบอกได้ว่าจำนวนไข่เหลือปริมาณน้อย AMH อยู่ที่ 0.2 – 1.26 ng/mL ซึ่งหากอยู่ในช่วงค่าปกติจะบ่งชี้ว่าจำนวนไข่สำรองยังคงมีเหลือเพียงพอ

2. Thyroid-Stimulating Hormone (TSH) เป็นฮอร์โมนที่ตรวจเพื่อดูสาเหตุที่ทำให้ฮอร์โมนมีความผิดปกติจากต่อมไทรอยด์ ใช้คัดกรองภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากหรือน้อยเกินไป

ซึ่งในกระบวนการเด็กหลอดแก้วผลการตรวจ TSH 0.5-5 คือปกติ 15-20 ควรดูแลใกล้ชิด หากผลการตรวจนั้นสูงกว่าแสดงว่าต่อมไทรอยด์นั้นทำงานน้อยกว่าปกติ และมีไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ ต่อมไทรอยด์จะผลิตฮอร์โมนออกมาเพิ่มขึ้นเพื่อพยายามกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์

หากผลการตรวจนั้นต่ำกว่าแสดงว่าต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ มีภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูง เมื่อต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมามากกว่าปกติ ต่อมใต้สมองจะหลั่ง TSH ออกมาลดลงผลการตรวจที่ได้จะช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการตรวจเพิ่มเติมและวางแผนการใส่ตัวอ่อน

3. โปรแลคติน (Prolactin) มีหน้าที่กระตุ้นต่อมน้ำนมให้สร้างน้ำนมเพื่อเลี้ยงทารก ระดับโปรแลคตินจะสูงในสตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร มีอำนาจยับยั้งการหลั่งของ FSH และ LH

เมื่อ FSH และ LH ลดลง การกระตุ้นการทำงานของรังไข่ก็ลดลงทำให้การผลิตฮอร์โมนจากรังไข่ลดลงและไม่ตกไข่ ผลการตรวจ Prolactin ควรมีน้อยกว่า 15-20 ภาวะโปรแลคตินสูงในสตรีที่ไม่ตั้งครรภ์ และไม่ได้ให้นมบุตร จะมีผลกระทบต่อการทำงานของรังไข่ด้วย มีความรุนแรงต่างกันแล้วแต่ระดับของฮอร์โมนที่ผิดปกติและปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายตั้งแต่มีการตกไข่แต่ระดับโปรเจสเตอโรนต่ำ การตกไข่ไม่สม่ำเสมอ หรือไม่ตกไข่เลย ทำให้บางครั้งประจำเดือนไม่สม่ำเสมอหรือขาดประจำเดือน

4. Follicle Stimulating Hormone (FSH) ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญของไข่ เป็นฮอร์โมนที่มีผลโดยตรงต่อวงจรรอบเดือน หากมีระดับ FSH ต่ำเกินไป (มักจะพบในผู้หญิงที่มีอาการของโรค PCOS) หรือสูงเกินไป (อาจพบในผู้หญิงที่เข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือนก่อนกำหนด) จะสามารถทำให้เป็นผู้มีบุตรยากได้

FSH ปกติโดยทั่วไปจะไม่เกิน 10 mIU/ml และจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับไข่สำรองที่มีอยู่ (รวมถึงคุณภาพและจำนวนของไข่ที่เหลืออยู่) เมื่อมีจำนวณไข่ลดน้อยลง และคุณภาพของไข่เสื่อมลง ร่างกายจะพยายามผลิต FSH ออกมามากขึ้น เพื่อชดเชยและกระตุ้นให้ follicle มีการเจริญมากขึ้น ด้วยเหตุนี้เอง หากพบว่ามีระดับ FSH สูง อาจเป็นตัวบ่งชี้ว่ากำลังจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้ว การมี FSH ในระดับต่ำเกินไปอาสส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ ทำให้วงจรรอบเดือนหยุดชะงักไปได้

5. Luteinizing hormone (LH) ทำหน้าที่กระตุ้นให้ไข่สุกและตกในเพศหญิง ผลการตรวจวัดระดับ LH ไม่ควรเกิน 6 (day 1-3)

โดยจะตรวจจากเลือดหรือปัสสาวะ ซึ่งค่าผลลัพธ์จะช่วยให้เข้าใจถึงภาวะความผิดปกติได้ดังต่อไปนี้
• การมีภาวะรอบเดือนมาผิดปกติ
• บอกช่วงเวลาที่เหมาะสมในการวางแผนตั้งครรภ์
• การเกิดโรคถุงน้ำในรังไข่
• ความผิดปกติของต่อมใต้สมอง ซึ่งหากเกิดปัญหาเกี่ยวกับการมีบุตรเนื่องจากคู่ครองมีปัญหาเกี่ยวกับระดับของฮอร์โมนลูทิไนซิง แพทย์อาจทดสอบเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก

ขอบคุณข้อมูลจาก: www.mahidol.ac.th, www.thansettakij.com

Reference: Prime Fertility Center Co., Ltd.

Related Posts

02

พ.ย.
ข่าวสาร สาระน่ารู้

ย้ายตัวอ่อนทำเด็กหลอดแก้ว เด็กที่เกิดมายังมีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่?

ย้ายตัวอ่อนทำเด็กหลอดแก้ว เด็กที่เกิดมายังมีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่? ในกระบวนการของกา[…]