สาเหตุที่ทำให้ตัวอ่อนหยุดพัฒนาในระยะแรก
กระบวนการแบ่งเซลล์ของตัวอ่อนมนุษย์จะเกิดขึ้นประมาณ 24 ชั่วโมงหลังจากที่ไข่ได้รับการปฏิสนธิ แต่คู่สมรสบางคู่อาจต้องเจอกับความผิดหวัง เมื่อพบว่าตัวอ่อนหยุดการเจริญเติบโต หยุดพัฒนาและตายภายในไม่กี่วันหลังการปฏิสนธิ โดยสาเหตุที่ทำให้ตัวอ่อนหยุดการพัฒนาในระยะแรก มีดังนี้
1. ตัวอสุจิมีความผิดปกติทางด้าน epigenetic (ตัวควบคุมการแสดงออกของยีน) โดย histone ที่จับกับดีเอ็นเอ ในส่วนหัวของตัวอสุจิจะถูกแทนที่ด้วย protamine 1 และ 2 (P1 และ P2) โดยมีอัตราส่วนของ P1 : P2 อยู่ที่ประมาณ 0.54 – 1.43 แต่ในรายที่อัตราส่วนดังกล่าวมีมากหรือน้อยเกินไป จะพบว่าอาจเกิดปัญหาการมีอัตราการปฏิสนธิต่ำ คุณภาพของตัวอ่อนไม่ดี และอัตราการฝังตัวของตัวอ่อนต่ำ
2. มีภูมิต้านทานต่อตัวอสุจิ เช่น ภูมิต้านทานนั้นอาจจับกับโปรตีนที่ทำหน้าที่ควบคุมการแบ่งเซลล์ (CS1) หรือ จับกับโปรตีนที่ควบคุมพัฒนาการของตัวอ่อน (Oct-3) ทำให้ตัวอ่อนไม่แบ่งตัว
3. ตัวอ่อนมีกลไกป้องกันอันตรายจากอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกาย (Reactive oxygen species : ROS) น้อย เช่น การขาดกลูตาไธโอน (glutathione) จึงทำให้เกิด oxidative damage ต่อดีเอ็นเอ
4. ความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น การขาดหรือการทำงานที่ผิดปกติของเอนไซม์บางตัวที่จำเป็นในการแบ่งตัว หรือการพัฒนาของตัวอ่อน เช่น เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญ (metabolism) ของตัวอ่อน
5. อายุของมารดา อาจเป็นปัจจัยที่กำหนดคุณภาพของตัวอ่อนด้วย ถึงแม้ตัวอ่อนจะมีโครโมโซมปกติ แต่จะมีความสามารถในการฝังตัวน้อยกว่าตัวอ่อนของผู้หญิงที่อายุน้อย ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการเสื่อมสภาพของไมโทคอนเดรีย (Mitochondria), การมี maternal mRNA สะสมน้อย, ความผิดปกติในขบวนการ post-transcription process เป็นต้น
.
ทนพญ.จิตรลดา อุดมผล
Embryologist
—
Prime Fertility Center ไม่ได้เพียงแค่ให้การรักษาภาวะมีบุตรยาก มีบุตรยาก มีลูกยากเพียงเท่านั้น สิ่งที่ Prime Fertility Center มุ่งหวัง และมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง คือการให้บริการลูกค้าด้วยความใส่ใจ พร้อมให้คำปรึกษา ดูแล และใส่ใจทุกความรู้สึกของคุณ เหมือนกับเป็นคนในครอบครัว เพราะเราเข้าใจถึงความรู้สึก ความกดดัน ความเครียดของผู้เข้ารับบริการที่ไม่สามารถมีบุตรได้สำเร็จเป็นอย่างดี ทางคลินิกจึงมีความตั้งใจที่จะมอบความอบอุ่น และอำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้ารับบริการอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยความมุ่งมั่นและความใส่ใจจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นักเพาะเลี้ยงตัวอ่อน และทีมงานมากประสบการณ์ในการดูแลและให้คำปรึกษาแบบครบวงจร
สนใจเข้ารับการปรึกษาภาวะมีบุตรยาก
ติดต่อ Prime Fertility Center
โทร : 062-648-6688 / 062-648-8866 / 02-029-1418–9
Line : http://line.me/ti/p/~@primefertility
Facebook : https://www.facebook.com/primefertilitycenter
E-mail : [email protected]