พัฒนาการของเด็กหลอดแก้วกับเด็กที่เกิดตามธรรมชาติ มีความแตกต่างกันหรือไม่?

 

มีคำถามมากมายเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อเด็กที่ตั้งครรภ์ด้วยวิธีการปฏิสนธินอกร่างกาย (In Vitro fertilization ; IVF) ในขณะที่การศึกษาก่อนหน้าแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงที่มากขึ้นของน้ำหนักทารกแรกเกิดต่ำและการคลอดก่อนกำหนดในเด็กที่ตั้งครรภ์ด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted Reproductive Technology ; ART) อย่างไรก็ตาม ไม่มีข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับการเติบโตในระยะยาวและการเพิ่มของน้ำหนัก

ปัจจุบัน งานวิจัยใหม่ซึ่งนำโดยมหาวิทยาลัยบริสตอล ตีพิมพ์ใน JAMA Network Open พบว่าความแตกต่างในการเจริญเติบโต น้ำหนัก และระดับไขมันในร่างกายของเด็กที่ตั้งครรภ์ผ่านการรักษาภาวะมีบุตรยากนั้นมีเพียงเล็กน้อย และไม่ปรากฏชัดอีกต่อไปในวัยรุ่นตอนปลายเมื่อเทียบกับเด็กที่เกิดตามธรรมชาติ

การศึกษาซึ่งนำโดยกลุ่มวิจัยนานาชาติจาก Assisted Reproductive Technology and Future Health (ART-Health) Cohort Collaboration มีการประเมินว่าการปฏิสนธิโดย ART ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการทำเด็กหลอดแก้วนั้นสัมพันธ์กับการเจริญเติบโต น้ำหนัก และไขมันในร่างกายตั้งแต่วัยทารกถึงตอนต้นหรือไม่

การค้นพบของทีมงานแสดงให้เห็นว่าผู้ที่ตั้งครรภ์โดยใช้ ART นั้นโดยเฉลี่ยจะให้กำเนิดทารกที่ตัวสั้นและน้ำหนักเบาตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยรุ่นตอนต้น เมื่อเทียบกับเด็กรุ่นเดียวกันที่ตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างนี้มีเพียงเล็กน้อยในทุกช่วงวัยและจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น และความแตกต่างเหล่านี้ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อสุขภาพในอนาคต

ขณะนี้ยังมีความจำเป็นที่ต้องศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่ขึ้นในวัยสูงอายุที่เกิดจากกระบวนการ ART ส่วนผลลัพธ์อื่น ๆ เช่นปัจจัยเสี่ยงของ cardiometabolic หลังจาก ART ยังต้องคงต้องการความร่วมมือที่พัฒนาร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษานี้ เพื่อเป็นการวิเคราะห์อนาคตเกี่ยวกับผลลัพธ์ด้านสุขภาพของเด็กหลอดแก้วที่เกิดจาก ART นั่นเอง

Source:
University of Bristol
Journal reference:
Elhakeem, A., et al. (2022) Association of Assisted Reproductive Technology With Offspring Growth and Adiposity From Infancy to Early Adulthood. Journal of the American Medical Association. http://doi.org/10.1001/jamanetworkopen.2022.22106

Reference: Prime Fertility Center Co., Ltd.

สนใจบริการ ทำเด็กหลอดแก้ว ฉีดเชื้อผสมเทียม ฝากไข่ ตรวจสุขภาพ คลิกที่นี่

 

ICSI การทำอิ๊กซี่ การทำอิ๊กซี่ หรือ Intracytoplasmic sperminjection (ICSI) เป็นการปฏิสนธินอกร่างกายที่ใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยในห้องปฏิบัติการ ซึ่งขั้นตอนคล้ายกับการทำเด็กหลอดแก้วหรือ IVF แต่การทำอิ๊กซี่จะมีความแตกต่างคือ อิ๊กซี่เป็นการนำเอาอสุจิที่ผ่านการคัดเลือกที่ดีที่สุดหนึ่งตัวผสมต่อไข่ที่อยู่ในระยะที่เหมาะสมในการปฏิสนธิหนึ่งใบ โดยการใส่อสุจิเข้าไปในเนื้อไข่โดยตรง กระบวนการนี้จะต้องมีการกระตุ้นไข่ด้วยยาฮอร์โมนเพื่อให้ได้ไข่จำนวนหลายใบ และยังให้ผลการปฏิสนธิเป็นที่น่าพึงพอใจ ช่วยลดปัญหาการปฏิสนธิหรือการปฏิสนธิแบบผิดปกติอันเนื่องมาจากไข่และอสุจิ เช่น การเกิดการผสมด้วยอสุจิหลายตัว, อสุจิไม่สามารถเจาะผ่านเปลือกไข่เพื่อเข้ามาปฏิสนธิได้ เป็นต้น หลังจากนั้นตัวอ่อนจะถูกนำไปเพาะเลี้ยงในภาวะที่เหมาะสมในห้องปฏิบัติการตัวอ่อน แล้วจึงนำตัวอ่อนฉีดกลับเข้าสู่โพรงมดลูกเพื่อให้ตัวอ่อนฝังตัวที่มดลูกและเจริญเติบโตเป็นทารกต่อไป

คู่สมรสที่ควรรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธีการทำ ICSI
1. ฝ่ายหญิงมีอายุค่อนข้างมาก (มากกว่า 35 ปี)
2. ฝ่ายหญิงมีภาวะท่อนำไข่ตีบตันทั้งสองข้าง
3. ฝ่ายหญิงมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ค่อนข้างรุนแรง
4. ฝ่ายหญิงมีการทำงานของฮอร์โมนรังไข่ผิดปกติ เช่น ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง หรือโรคถุงน้ำรังไข่ (PCOS)
5. ฝ่ายชายมีอสุจิผิดปกติรุนแรง ทั้งทางด้านรูปร่าง ความสามารถในการเคลื่อนที่ รวมถึงจำนวนของอสุจิด้วย
6. ฝ่ายชายที่เป็นหมันหรือทำหมัน แต่ยังคงมีการสร้างอสุจิและสามารถนำอสุจิออกมาได้จาก วิธีการผ่าตัด เช่น การทำ PESA, TESA, TESE เป็นต้น
7. คู่สามีภรรยาที่เคยไม่ประสบความสำเร็จในการปฏิสนธินอกร่างกายด้วยวิธี IVF
8. คู่สามีภรรยาที่ต้องการตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมด้วยของตัวอ่อน

FET การย้ายตัวอ่อนแช่แข็ง
การย้ายตัวอ่อนแช่แข็ง หรือ FET (FROZEN EMBRYO TRANSFER) คือการนำเอาตัวอ่อนที่ถูกแช่แข็งไว้มาผ่านกระบวนการละลาย (THAWING) และย้ายเข้าสู่โพรงมดลูก ซึ่งในกรณีนี้คนไข้สามารถเลือกช่วงเวลาที่ตนเองสะดวกได้ เช่น 1-2 เดือนหลังจากกระบวนการปฏิสนธิ การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็งในสตรีที่มีอายุมากกว่า 35 ปีจะให้ผลดีกว่าการย้ายตัวอ่อนในรอบสด

เนื่องจากในกรณีที่ฝ่ายหญิงกระตุ้นไข่ได้หลายใบจะทำให้มีฮอร์โมนผลิตออกมาจากรังไข่ปริมาณมาก ซึ่งฮอร์โมนนี้จะส่งผลทำให้คุณภาพของเยื่อบุโพรงมดลูกด้อยลง และทำให้โอกาสการฝังตัวของตัวอ่อนลดลงแม้ตัวอ่อนจะมีคุณภาพดีก็ตาม ดังนั้นการใส่ตัวอ่อนตามหลังการเก็บไข่เลยอาจไม่เหมาะสมนักในกรณีนี้

นอกจากนั้นผลการศึกษาจากหลายสถาบันก็มีแนวโน้มว่าการใส่ตัวอ่อนในรอบแช่แข็งและละลายจะให้โอกาสการตั้งครรภ์ที่สูงกว่าใส่หลังเก็บไข่เลย ด้วยเรื่องของคุณภาพเยื่อบุโพรงมดลูกที่พร้อมมากกว่าดังนั้นการเลือกย้ายตัวอ่อนในรอบใดนั้นแพทย์จะพิจารณาให้เหมาะสมกับคู่สมรสเป็นราย ๆ ไป

ทำ ICSI ราคา มีบุตรยาก ทำอิ๊กซี่ ราคา

Related Posts