รู้หรือไม่ว่า…ตัวอ่อนกลัวแสง?

 

แสงสว่างจากกล้องจุลทรรศน์ภายในห้องเพาะเลี้ยงตัวอ่อน (Embryology Laboratory) หรือภายในห้องเก็บไข่ (OR) อาจจะทำให้ตัวอ่อนเครียด (Metabolic stress)

แสงเหล่านี้อาจจะถูกภาชนะพลาสติกที่นำมาเพาะตัวอ่อน (Plate Culture) ดูดซึม และปล่อย Reactive oxygen species ออกมาทำให้ตัวอ่อนเสียหายได้

นักวิทยาศาสตร์ต้องควบคุมความยาวคลื่นแสง (wavelength) ระยะเวลา และความเข้มของแสง (intensity) ที่มากระทบตัวอ่อน ไม่เช่นนั้นจะเกิดอันตรายกับตัวอ่อนได้ โดยแสงส่วนใหญ่ที่กระทบกับตัวอ่อน มาจากกล้องจุลทรรศน์

ดังนั้นจึงควรใช้ฟิลเตอร์สีเขียว (ปิดกั้นแสงที่มีความยาวคลื่นต่ำกว่า 500 nm) มาขวางทางเดินแสง ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้หลอด LED (light emitted diode) กันมากขึ้น

หลอดชนิดนี้ให้ Spectrum ของแสงที่ค่อนข้างปลอดภัยกับตัวอ่อน รวมไปถึงห้องปฏิบัติการควรใช้แสงสีเหลือง (TL16 fluorescent bulb; wavelength 580 nm) หรือถ้าใช้หลอด fluorescent ทั่วไป นักวิทยาศาสตร์ควรเลือกหลอด Warm white fluorescence ให้ใกล้เคียงกับในธรรมชาติของไข่และตัวอ่อนซึ่งเดิมจะอยู่ในร่างกายในสภาพแวดล้อมที่มืดนั่นเอง

Reference: Prime Fertility Center Co., Ltd.

สนใจบริการ ทำเด็กหลอดแก้ว ฉีดเชื้อผสมเทียม ฝากไข่ ตรวจสุขภาพ คลิกที่นี่

Related Posts

23

พ.ย.
ข่าวสาร สาระน่ารู้

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอสุจิ ตัววิ่งเร็วเป็นเพศชาย ตัววิ่งช้าเป็นเพศหญิงจริงหรือ?

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอสุจิ ตัววิ่งเร็วเป็นเพศชาย ตัววิ่งช้าเป็นเพศหญิงจริงหรือ? เชื่อว่าห[…]