จำเป็นไหม? ที่ต้องทำ ERA TEST

 

คนที่จำเป็นที่จะต้องทำ ERA TEST คือกลุ่มคนไข้ที่มีประวัติใส่ตัวอ่อนที่ดีมีคุณภาพ อาจจะผ่านการตรวจโครโมโซมหรือไม่ตรวจก็ได้ แต่ยังไม่ติดตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป (Recurrent implantation failure : RIF) ก็มีโอกาสเข้าข่ายในกลุ่มนี้

รวมไปถึงมีการฝังตัวที่ผิดปกติ ทั้งที่ตัวอ่อนก็ดี เยื่อบุโพรงมดลูกก็ดี ตอนเตรียมก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร คนไข้เหล่านี้ ทางเราก็จะมีข้อบ่งชี้ว่าให้ทำ ERA TEST

(ERA TEST คืออะไร? อ่านเพิ่มเติมที่: www.primefertilitycenter.com/การตรวจ-era-test-คืออะไร/ )

เพราะตามหลักการแล้วผู้หญิงทั่วไปจะมีช่วงเวลาที่เหมาะสมในการใส่ยาโปรเจสเตอโรนที่ช่วยสนับสนุนในการฝังตัวอ่อน ก่อนวันใส่ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ 5 วัน

แต่คนไข้ที่อยู่ในกลุ่ม RIF คือการฝังตัวของตัวอ่อนผิดปกติ เขาอาจจะมีความผิดปกติเรื่องการใช้เวลาในฝังตัวอ่อน การทำ ERA TEST จึงจำเป็นเพื่อหาช่วงเวลาที่เหมาะสมว่า คนไข้ควรใช้ยาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่ช่วยในการฝังตัวกี่วัน กี่ชั่วโมง ที่เหมาะสมกับกลุ่มคนไข้กลุ่มนี้

ซึ่งคนไข้ที่อยู่ในกลุ่ม RIF พบได้ประมาณ 5 – 10 เปอร์เซ็นต์ หากทำ ERA TEST ก็จะช่วยให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้สูงมากขึ้น ซึ่งข้อดีและข้อเสียของการทำ ERA TEST สรุปได้ดังนี้

✅ ข้อดี – หากเราเป็นคนไข้ในกลุ่มนั้น เราก็จะไม่ต้องเสียตัวอ่อน 1 – 2 ครั้ง บางคนอาจจะได้ตัวอ่อนมาอย่างยากลำบากหรือผ่านมาแค่ตัวเดียว ก็จะได้ไม่ต้องเสียตัวอ่อนตัวนี้ไป

❎ ข้อเสีย – ค่าใช้จ่ายราคาสูง (ต้องมีการตรวจเซลล์ในโพรงมดลูก) รวมถึงเลื่อนรอบใส่ตัวอ่อนไปอีก 1 รอบเดือน เพราะช่วงที่ทำ ERA TEST ก็จะไม่สามารถใส่ตัวอ่อนได้ ก็จะล่าช้าในการใส่ตัวอ่อนเพิ่มขึ้น

Reference: Prime Fertility Center Co., Ltd.

สนใจบริการ ทำเด็กหลอดแก้ว ฉีดเชื้อผสมเทียม ฝากไข่ ตรวจสุขภาพ คลิกที่นี่

 

ICSI การทำอิ๊กซี่ การทำอิ๊กซี่ หรือ Intracytoplasmic sperminjection (ICSI) เป็นการปฏิสนธินอกร่างกายที่ใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยในห้องปฏิบัติการ ซึ่งขั้นตอนคล้ายกับการทำเด็กหลอดแก้วหรือ IVF แต่การทำอิ๊กซี่จะมีความแตกต่างคือ อิ๊กซี่เป็นการนำเอาอสุจิที่ผ่านการคัดเลือกที่ดีที่สุดหนึ่งตัวผสมต่อไข่ที่อยู่ในระยะที่เหมาะสมในการปฏิสนธิหนึ่งใบ โดยการใส่อสุจิเข้าไปในเนื้อไข่โดยตรง กระบวนการนี้จะต้องมีการกระตุ้นไข่ด้วยยาฮอร์โมนเพื่อให้ได้ไข่จำนวนหลายใบ และยังให้ผลการปฏิสนธิเป็นที่น่าพึงพอใจ ช่วยลดปัญหาการปฏิสนธิหรือการปฏิสนธิแบบผิดปกติอันเนื่องมาจากไข่และอสุจิ เช่น การเกิดการผสมด้วยอสุจิหลายตัว, อสุจิไม่สามารถเจาะผ่านเปลือกไข่เพื่อเข้ามาปฏิสนธิได้ เป็นต้น หลังจากนั้นตัวอ่อนจะถูกนำไปเพาะเลี้ยงในภาวะที่เหมาะสมในห้องปฏิบัติการตัวอ่อน แล้วจึงนำตัวอ่อนฉีดกลับเข้าสู่โพรงมดลูกเพื่อให้ตัวอ่อนฝังตัวที่มดลูกและเจริญเติบโตเป็นทารกต่อไป

คู่สมรสที่ควรรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธีการทำ ICSI
1. ฝ่ายหญิงมีอายุค่อนข้างมาก (มากกว่า 35 ปี)
2. ฝ่ายหญิงมีภาวะท่อนำไข่ตีบตันทั้งสองข้าง
3. ฝ่ายหญิงมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ค่อนข้างรุนแรง
4. ฝ่ายหญิงมีการทำงานของฮอร์โมนรังไข่ผิดปกติ เช่น ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง หรือโรคถุงน้ำรังไข่ (PCOS)
5. ฝ่ายชายมีอสุจิผิดปกติรุนแรง ทั้งทางด้านรูปร่าง ความสามารถในการเคลื่อนที่ รวมถึงจำนวนของอสุจิด้วย
6. ฝ่ายชายที่เป็นหมันหรือทำหมัน แต่ยังคงมีการสร้างอสุจิและสามารถนำอสุจิออกมาได้จาก วิธีการผ่าตัด เช่น การทำ PESA, TESA, TESE เป็นต้น
7. คู่สามีภรรยาที่เคยไม่ประสบความสำเร็จในการปฏิสนธินอกร่างกายด้วยวิธี IVF
8. คู่สามีภรรยาที่ต้องการตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมด้วยของตัวอ่อน

FET การย้ายตัวอ่อนแช่แข็ง
การย้ายตัวอ่อนแช่แข็ง หรือ FET (FROZEN EMBRYO TRANSFER) คือการนำเอาตัวอ่อนที่ถูกแช่แข็งไว้มาผ่านกระบวนการละลาย (THAWING) และย้ายเข้าสู่โพรงมดลูก ซึ่งในกรณีนี้คนไข้สามารถเลือกช่วงเวลาที่ตนเองสะดวกได้ เช่น 1-2 เดือนหลังจากกระบวนการปฏิสนธิ การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็งในสตรีที่มีอายุมากกว่า 35 ปีจะให้ผลดีกว่าการย้ายตัวอ่อนในรอบสด

เนื่องจากในกรณีที่ฝ่ายหญิงกระตุ้นไข่ได้หลายใบจะทำให้มีฮอร์โมนผลิตออกมาจากรังไข่ปริมาณมาก ซึ่งฮอร์โมนนี้จะส่งผลทำให้คุณภาพของเยื่อบุโพรงมดลูกด้อยลง และทำให้โอกาสการฝังตัวของตัวอ่อนลดลงแม้ตัวอ่อนจะมีคุณภาพดีก็ตาม ดังนั้นการใส่ตัวอ่อนตามหลังการเก็บไข่เลยอาจไม่เหมาะสมนักในกรณีนี้

นอกจากนั้นผลการศึกษาจากหลายสถาบันก็มีแนวโน้มว่าการใส่ตัวอ่อนในรอบแช่แข็งและละลายจะให้โอกาสการตั้งครรภ์ที่สูงกว่าใส่หลังเก็บไข่เลย ด้วยเรื่องของคุณภาพเยื่อบุโพรงมดลูกที่พร้อมมากกว่าดังนั้นการเลือกย้ายตัวอ่อนในรอบใดนั้นแพทย์จะพิจารณาให้เหมาะสมกับคู่สมรสเป็นราย ๆ ไป

ทำ ICSI ราคา มีบุตรยาก

Related Posts

02

พ.ย.
ข่าวสาร สาระน่ารู้

ย้ายตัวอ่อนทำเด็กหลอดแก้ว เด็กที่เกิดมายังมีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่?

ย้ายตัวอ่อนทำเด็กหลอดแก้ว เด็กที่เกิดมายังมีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่? ในกระบวนการของกา[…]