21

ต.ค.

ตรวจโครโมโซม (PGT) มีลูกยาก มีบุตรยาก – Prime Fertility Center

มีลูกยาก มีบุตรยาก การตรวจหาความผิดปกติของโครโซมตัวอ่อนด้วยเทคนิค NGS ในการทำเด็กหลอดแก้ว ICSI

การตรวจความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อนก่อนการฝังตัว (Preimplantation Genetic Testing (PGT))
Preimplantation Genetic Testing หรือ PGT คือการวินิจฉัยความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนที่เกิดจากความผิดปกติของจำนวนโครโมโซม และ/หรือยีนที่เฉพาะเจาะจงกับโรคบางอย่าง ก่อนที่จะนำตัวอ่อนย้ายเข้าสู่โพรงมดลูก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการลดความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติทางพันธุกรรมของทารกได้

ส่วนใหญ่วิธีนี้จะแนะนำให้กับคู่สามีภรรยาที่มีความเสี่ยงสูงต่อการมีบุตร หรือมีโรคทางพันธุกรรม ด้วยวิธีการนี้ เราจะสามารถคัดเลือกแต่ตัวอ่อนที่แข็งแรงและไม่เป็นโรคทางพันธุกรรมเท่านั้นในการย้ายเข้าสู่โพรงมดลูก การทำ PGT ทำได้ด้วยการดึงเซลล์ของตัวอ่อนระยะบลาสโทซิสท์ (ตัวอ่อนอายุ 5-6 วัน) โดยดึงเฉพาะเซลล์ต้นกำเนิดส่วนที่จะเจริญไปเป็นรกออกมาเล็กน้อย เพื่อตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรม

5 กลุ่มผู้ป่วยที่จะได้ประโยชน์จากการทำ PGT

โดยทั่วไปกลุ่มผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยากที่แนะนำให้ตรวจ PGT มีอยู่ 5 กลุ่มได้แก่
1. ฝ่ายหญิงมีอายุมากกว่า 35 ปี (Advanced Maternity Age: AMA)
2. คู่สมรสที่มีประวัติทำ IVF มาแล้วและไม่ประสบผลสำเร็จ
3. คู่สมรสที่ทราบว่าตนเอง หรือครอบครัวตนเอง หรือบุตรคนก่อนมีโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เช่น ธาลัสซีเมีย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (SMA)
4. คู่สมรสที่มี Chromosomal Translocations หรือการสับเปลี่ยนของโครโมโซม ซึ่งเป็นความผิดปกติของโครโมโซมอย่างหนึ่ง
5. ผู้ป่วยที่มีประวัติแท้งหลายครั้ง

การตรวจหาความผิดปกติของโครโซมตัวอ่อนด้วยเทคนิค Next Generation Sequencing (NGS)

Next Generation Sequencing หรือ NGS เป็นเทคนิคที่สามารถตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมได้ถึงในลำดับเบส ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของโครโมโซม โดยใช้การเปรียบเทียบลำดับเบสของยีนที่ก่อโรคกับยีนที่ปกติ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันทำให้สามารถค้นหายีนที่ก่อโรคได้ เนื่องจากในร่างกายของมนุษย์เราประกอบไปด้วยโครโมโซมทั้งหมด 23 คู่ โดยแต่ละโครโมโซมจะทำหน้าที่ในการควบคุมการแสดงออกของลักษณะทางกายภาพและการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย ในโครโมโซมจะประกอบไปด้วยยีนและในยีนก็ประกอบไปด้วยกรดอะมิโนซึ่งมีลำดับเบสมากมายอยู่ในนั้น ยีนที่มีความผิดปกติหรือกลายพันธุ์จึงส่งผลให้เกิดโรคขึ้นในคนที่ได้รับการถ่ายทอดยีนที่ผิดปกตินั้นต่อกันมา

วิธีนี้จึงเป็นวิธีที่สามารถตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมได้ละเอียด มีความถูกต้องแม่นยำสูง และถูกนำมาพัฒนาและประยุกต์ใช้ในการตรวจคัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อน ซึ่งถือเป็นเทคนิควิธีการตรวจที่ดีที่สุดในปัจจุบัน

ข้อดี

การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อนด้วยเทคนิค Next Generation Sequencing มีข้อดีคือ สามารถตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมได้ทั้ง 23 คู่โครโมโซม ให้ข้อมูลที่มีความละเอียดสูงและมีความถูกต้องแม่นยำสูงมากถึง 99.9%

สนใจเข้ารับการปรึกษาภาวะมีบุตรยาก

โทร : 062-648-6688 / 062-648-8866 / 02-029-1418–9
Line : @primefertility ( http://line.me/ti/p/~@primefertility )
Facebook : m.me/primefertilitycenter
Instagram / Twitter : primefertilitycenter
E-mail : [email protected]