รวมคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับการทำ IUI จบ ครบ ในบทความเดียว!

รวมคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับการทำ IUI จบ ครบ ในบทความเดียว!

 

รวมคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับการทำ IUI จบ ครบ ในบทความเดียว!

Meta Title : รวมคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับการทำ IUI จบ ครบ ในบทความเดียว!
Meta Description : IUI ด่านแรกในการรักษาภาวะมีบุตรยากที่เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้สูงกว่าการตั้งครรภ์แบบธรรมชาติถึง 2 เท่า หาคำตอบ พร้อมคลายทุกข้อสงสัยได้ที่นี่!

___________________________________________________________________________________________________

ปัจจุบันมีวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากหลากหลายวิธี แต่วิธีที่แพทย์มักจะแนะนำเป็นอย่างแรกๆ คงหนีไม่พ้น “การทำ IUI” เพราะวิธีนี้เป็นการรักษาที่ไม่ซับซ้อน เจ็บตัวน้อย รวมถึงยังสามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้สูงกว่าการตั้งครรภ์แบบธรรมชาติถึง 2 เท่า

บทความนี้ HDmall.co.th ร่วมกับ Prime Fertility Center ได้รวบรวมคำถามยอดฮิตที่หลายคนมักสงสัยเกี่ยวกับการทำ IUI มาฝากกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำ IUI คืออะไร? เหมาะกับใคร? สามารถเลือกเพศให้ลูกได้ไหม? หรือมีโอกาสที่จะให้กำเนิดลูกแฝดได้หรือเปล่า? ถ้าพร้อมแล้วก็หยิบสมุด เตรียมจดคำตอบได้จากบทความนี้เลย!

IUI คืออะไร?

การฉีดเชื้อผสมเทียม หรือ IUI (Intra Uterine Insemination) คือ หนึ่งในวิธีรักษาภาวะมีบุตรยาก ที่ทำได้โดยการฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกในช่วงที่ฝ่ายหญิงกำลังตกไข่ โดยจะใช้ท่อพลาสติกขนาดเล็กสอดผ่านปากช่องคลอดแล้วฉีดเชื้ออสุจิเข้าไป

วิธีนี้จึงเหมือนเป็นทางลัดที่ช่วยให้อสุจิเคลื่อนตัวไปที่ท่อนำรังไข่ได้เร็วขึ้น เพราะปกติแล้วอสุจิจะต้องเคลื่อนตัวจากช่องคลอดไปยังปากมดลูก ผ่านเข้าไปในมดลูก และเคลื่อนที่ต่อจนกว่าจะถึงท่อนำไข่ การร่นระยะทางจะช่วยให้อสุจิปลอดภัยจากกรดในช่องคลอดและเพิ่มโอกาสที่จะผสมกับไข่ได้สำเร็จมากขึ้น

IUI จึงอาจเรียกได้ว่าเป็นด่านแรกในการรักษาภาวะมีบุตรยากเลยก็ว่าได้ เนื่องจากสามารถทำได้ง่าย สะดวก ไม่จำเป็นต้องพบแพทย์บ่อย รวมถึงยังมีค่ารักษาที่ถูกกว่าการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธีอื่นๆ ด้วย

การทำ IUI เหมาะกับใคร?

ฝ่ายชายที่เหมาะกับการทำ IUI

  • ผู้ที่มีเชื้ออสุจิอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือต่ำกว่าเกณฑ์เล็กน้อย ก่อนการรักษาภาวะมีบุตรยาก ฝ่ายชายจะต้องตรวจวิเคราะห์อสุจิเสียก่อน หากพบว่าอสุจิมีปริมาณน้อย เคลื่อนที่ช้า รูปร่างผิดปกติ แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติหรือต่ำกว่าเกณฑ์เล็กน้อย ก็สามารถรักษาด้วยวิธี IUI ได้ 

สำหรับอสุจิที่ดีนั้น องค์การอนามัยโลก (WHO criteria 2021) ได้กำหนดเกณฑ์ของการตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ ไว้ดังนี้

 

  1. ปริมาตรของน้ำอสุจิ (Volume) ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 1.4 มิลลิลิตร
  2. จำนวนตัวอสุจิต่อการหลั่ง 1 ครั้ง (Total count) ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 39 ล้านตัว
  3. อัตราการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิ (Motility) ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 42
  4. อัตราการมีชีวิตของอสุจิ (Viability) ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 54
  5. รูปร่างตัวอสุจิที่ปกติ (Morphology) ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 4

ฝ่ายหญิงที่เหมาะกับการทำ IUI

  • ผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี เนื่องจากผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 30 ปี มีโอกาสที่เกิดภาวะรังไข่เสื่อม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ ทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์จากการทำ IUI ลดลง
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับอุ้งเชิงกราน เช่น ปากมดลูกหรือคอมดลูกตีบ (Cervical Stenosis) จนทำให้อสุจิเคลื่อนที่เข้าสู่โพรงมดลูกด้วยวิธีธรรมชาติได้ยาก
  • ผู้ที่มีมูกบริเวณช่องคลอดผิดปกติ เมื่ออยู่ในช่วงตกไข่ ปกติแล้วผู้หญิงจะมีของเหลวออกมาบริเวณช่องคลอดเพื่อให้อสุจิเคลื่อนที่สู่ท่อนำได้ง่ายขึ้น แต่ในบางรายอาจมีความผิดปกติที่ทำให้ร่างกายไม่ผลิตมูกนี้ขึ้นมา อสุจิเลยไม่สามารถเดินทางสู่ท่อนำไข่ได้
  • ผู้มีปัญหาเกี่ยวกับการตกไข่ เช่น กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome) ทำให้เกิดภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง
  • ผู้ที่มีท่อนำไข่ปกติ เนื่องจากการทำ IUI เป็นการฉีดอสุจิเข้าที่โพรงมดลูกแล้วปล่อยให้อสุจิกับไข่ปฏิสนธิกันโดยธรรมชาติที่บริเวณท่อนำไข่ ดังนั้นในคู่รักที่ต้องการรักษาวะมีบุตรยากด้วยวิธีนี้ ฝ่ายหญิงจึงจำเป็นที่จะต้องมีท่อนำไข่ทั้ง 2 ข้าง หรือ 1 ข้างที่ทำงานได้ปกติ
  • ผู้ที่แพ้อสุจิ (Semen Allergy) ในคู่รักบางคู่ฝ่ายหญิงอาจมีอาการแพ้โปรตีนในน้ำอสุจิ การมีเพศสัมพันธ์จึงอาจทำให้ช่องคลอดเกิดอาการแดง บวม และระคายเคืองเมื่อสัมผัสน้ำเชื้อได้

โดยส่วนใหญ่แพทย์มักแนะนำให้ทำ IUI ร่วมกับการฉีดยากระตุ้นไข่ตกเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

ความแตกต่างของการทำ IUI, IVF และ ICSI

การรักษาภาวะมีบุตรยากเบื้องต้นแพทย์จะแนะนำให้ทำ IUI ก่อน หากยังไม่สำเร็จอาจแนะนำให้เปลี่ยนวิธีเป็นการทำ IVF และ ICSI ตามลำดับ ซึ่ง IVF และ ICSI เป็นวิธีการรักษาที่ซับซ้อนแต่ก็ให้อัตราความสำเร็จที่สูงกว่า IUI โดยทั้ง 3 วิธี มีการรักษาที่แตกต่างกันดังนี้

IUI เป็นวิธีที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด โดยจะสร้างสภาพแวดล้อมให้เกิดการปฏิสนธิภายในร่างกายด้วยการฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกในวันที่มีการตกไข่ ทำให้อสุจิผสมกับไข่ได้ง่ายกว่าปกติ ช่วยเพิ่มโอกาสที่จะเกิดการปฏิสนธิและนำไปสู่การตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น

ในขณะที่ IVF (In Vitro Fertilization) และ ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) หรือที่เรียกว่าการทำเด็กหลอดแก้ว เป็นสองเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ที่มาช่วยกระตุ้นให้เกิดการปฏิสนธินอกร่างกาย โดยทั้งสองวิธีนี้มีกระบวนการในช่วงแรกไม่ต่างกันมากนัก แต่จะแตกต่างกันในขั้นตอนปฏิสนธิ

โดยการทำ IVF ผู้เชี่ยวชาญจะนำสเปิร์มมาเพาะเลี้ยงไว้กับไข่แต่ละใบและปล่อยให้สเปิร์มเข้าไปผสมกับไข่เอง ในขณะที่การทำ ICSI ผู้เชี่ยวชาญจะทำการคัดเลือกนำอสุจิที่มีรูปร่าง หน้าตา และความสามารถในการวิ่งที่ดีที่สุดเพียงตัวเดียวฉีดเข้าไปผสมกับเซลล์ไข่โดยตรง ทำให้มีอัตราการปฏิสนธิที่สูงมาก

การ IVF และ ICSI เมื่อไข่และอสุจิปฏิสนธิกันได้ตามปกติจนกลายเป็นตัวอ่อน หลังจากนั้นตัวอ่อนจะถูกนำไปเพาะเลี้ยงในภาวะที่เหมาะสมในห้องปฏิบัติการ เมื่อถึงเวลาจึงค่อยทำการนำตัวอ่อนย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูก เพื่อให้ตัวอ่อนฝังตัวที่มดลูกและเจริญเติบโตเป็นทารกต่อไป

สรุปได้ง่ายๆ ว่า การทำ IUI เป็นการรักษาภาวะมีบุตรยากที่ทำให้เกิดการปฏิสนธิภายในร่างกาย ในขณะที่ IVF และ ICSI เป็นการรักษาภาวะมีบุตรยากที่ทำให้เกิดการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย เมื่อเกิดการปฏิสนธิแล้วจึงจะนำตัวอ่อนกลับสู่โพรงมดลูกนั่นเอง

การทำ IUI มีอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์มากน้อยแค่ไหน?

การทำ IUI สามารถเพิ่มโอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้มากกว่าการการตั้งครรภ์ด้วยวิธีธรรมชาติถึง 2 เท่า โดยมีอัตราความสำเร็จอยู่ที่ 5-15% 

สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้การทำ IUI สำเร็จ คือ อายุของฝ่ายหญิง หากมีอายุต่ำกว่า 35 ปี จะมีโอกาสที่การตั้งครรภ์สำเร็จสูงถึง 10-20% ส่วนผู้ที่อายุอยู่ในช่วง 35-40 ปี จะมีโอกาสตั้งครรภ์ที่ 10% และผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป จะมีโอกาสตั้งครรภ์ 2-5%

จุดเด่นของการทำ IUI

สาเหตุที่การทำ IUI เป็นวิธีแรกที่แพทย์มักแนะนำในการรักษาภาวะมีบุตรยากเนื่องจาก IUI มีจุดเด่นดังนี้

  • เป็นวิธีที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด
  • เป็นวิธีการรักษาที่มีขั้นตอนไม่ซับซ้อนและเจ็บตัวน้อยกว่าการทำ IVF และ ICSI
  • แพทย์จะประเมินการใช้ยากระตุ้นไข่ให้เหมาะสมเป็นรายบุคคล
  • สามารถนำมาใช้ในการวางแผนมีบุตร เพื่อเลือกระยะเวลาในการตั้งครรภ์ที่เหมาะสมได้
  • มีค่าใช้จ่ายถูกกว่าการรักษาอาการมีบุตรยากด้วยวิธีอื่นๆ

ข้อจำกัดในการทำ IUI

ถึงแม้ IUI จะเป็นวิธีรักษาภาวะมีบุตรยากที่สะดวกและไม่ซับซ้อน แต่ก็อาจจะไม่เหมาะสมกับคู่รักที่มีลักษณะดังนี้

  • ฝ่ายชายไม่สามารถหลั่งน้ำเชื้อได้หรือมีเชื้ออสุจิต่ำกว่าเกณฑ์
  • ฝ่ายหญิงมีท่อนำไข่อุดตันทั้งสองข้าง หรือไม่มีท่อนำไข่อยู่เลย
  • ฝ่ายหญิงมีพังผืดที่อุ้งเชิงกราน
  • ฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงเคยผ่านการทำหมันมาแล้ว
  • คู่รักที่ทำ IUI มากกว่า 3 ครั้ง แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ

หลังทำ IUI มีผลข้างเคียงไหม?

หลังทำ IUI อาจมีอาการปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ ปวดหัว อารมณ์แปรปรวน หรือมีเลือดออกจากทางช่องคลอดได้ ซึ่งปกติแล้วอาการเหล่านี้จะหายไปเองภายใน 2-3 วัน โดยคนไข้สามารถรับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้ แต่ถ้าหากอาการเหล่านี้ยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้เข้าพบแพทย์ทันที

การทำ IUI เลือกเพศลูกได้ไหม?

การทำ IUI ไม่สามารถเลือกเพศของลูกได้ เนื่องจากเป็นเพียงการช่วยให้อสุจิเดินทางเข้าไปผสมกับไข่ได้ง่ายขึ้นเท่านั้น ซึ่งเป็นวิธีที่คล้ายกับการมีเพศสัมพันธ์โดยปกติทั่วไปจึงไม่สามารถเลือกเพศของลูกได้

การทำ IUI สามารถมีลูกแฝดได้ไหม?

การทำ IUI มีโอกาสที่จะให้กำเนิดลูกแฝดได้ เนื่องจากในบางเคสมีการฉีดยากระตุ้นการตกไข่ ทำให้อาจมีการตกไข่มากกว่าหนึ่งฟองและทำให้เกิดลูกแฝดได้ 

แต่ทั้งนี้การให้กำเนิดลูกแฝดก็เป็นเพียงโอกาสที่จะเกิดขึ้นเท่านั้น คู่รักไม่สามารถเลือกได้ว่าจะให้กำเนิดครรภ์เดี่ยวหรือครรภ์แฝดก่อนรับบริการ

ถ้าทำหมันแล้ว สามารถทำ IUI ได้ไหม?

คู่รักที่ทำหมันแล้วไม่สามารถทำ IUI ได้ เนื่องจากการทำหมันของฝ่ายหญิงจะทำโดยการผูกและตัดท่อนำไข่ออก ทำให้ถึงแม้เราจะฉีดน้ำเชื้ออสุจิเข้าไป น้ำเชื้ออสุจิก็เดินทางได้ถึงแค่โพรงมดลูก ไม่สามารถไปถึงท่อนำไข่ซึ่งเป็นบริเวณที่เกิดการปฏิสนธิได้

ส่วนการทำหมันของฝ่ายชาย จะเป็นการทำหมันแบบถาวรโดยการผูกและตัดหลอดนำอสุจิออก ทำให้อสุจิไม่สามารถหลั่งออกมาได้ ถึงแม้ในฝ่ายชายจะสามารถต่อหมันหรือแก้หมันได้ แต่ท่อนำอสุจิอาจมีขนาดเล็กลงมากและมีปริมาณตัวอสุจิที่ไม่เพียงพอต่อการนำมาฉีดเข้าสู่โพรงมดลูก

ทำ IUI แล้วไม่ติดกี่ครั้งถึงควรเปลี่ยนวิธี?

สำหรับคู่รักที่ฝ่ายหญิงมีอายุน้อยกว่า 35 ปี แนะนำให้ทำ IUI ติดต่อกันไม่เกิน 3 ครั้ง หลังจากครั้งที่ 4 เป็นต้นจะมีโอกาสในการตั้งครรภ์ที่น้อยมาก แนะนำให้เลือกรักษาด้วยวิธี IVF และ ICSI จะเหมาะสมกว่า

ส่วนคู่รักที่ฝ่ายหญิงมีอายุมากกว่า 35 ปี หากทำ IUI ครบ 2 ครั้งแล้วยังไม่ประสบความสำเร็จ อาจเลือกรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธีอื่นๆ แทน เนื่องจากผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปี จะมีการผลิตฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการตกไข่ลดลง

ทำ IUI ราคาเท่าไหร่?

การทำ IUI ปัจจุบันมีราคาค่าบริการอยู่ที่ประมาณ 15,000 – 30,000 บาท โดยราคานั้นจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับคนไข้แต่ละคน เพราะแพทย์อาจมีการพิจารณาจ่ายยาและบริการอื่นๆ ที่จำเป็นในแต่ละเคส

ทำ IUI ที่ไหนดี?

การทำ IUI ให้ประสบความสำเร็จ นอกจากการเตรียมตัวที่ดีแล้ว ก็ควรจะต้องเลือกจากสถานพยาบาลที่มีความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ รวมถึงควรดูแลให้คำปรึกษาโดยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ ถ้าหากคุณเป็นหนึ่งคนที่กำลังสนใจการทำ IUI อยู่ Prime Fertility Center ยินดีให้บริการ

Prime Fertility Center เป็นคลินิกเฉพาะทางที่ให้การรักษาด้านภาวะมีบุตรยากที่ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั่วประเทศ เลือกใช้เทคโนโลยีรักษาภาวะมีบุตรยากที่มีความทันสมัย เราไม่เพียงแต่รักษาภาวะมีบุตรยากเพียงอย่างเดียว แต่เราเข้าใจถึงความหมายของคำว่าครอบครัว

หากสนใจอยากปรึกษาเกี่ยวกับการฉีดเชื้อผสมเทียม หรือ IUI สามารถติดต่อนัดหมายได้ที่ช่องทางต่อไปนี้

ติดต่อ Prime Fertility Center
โทร : 062-648-6688 / 062-648-8866 / 02-029-1418–9
Line :http://line.me/ti/p/~@primefertility
Facebook :https://www.facebook.com/primefertilitycenter
E-mail : [email protected]

เวลาทำการ
วันจันทร์ – วันพุธ , วันศุกร์และวันเสาร์
เวลา 08.00 – 16:00 น.
หยุดวันพฤหัสบดี วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

ที่มา:

  • HDmall, เจาะลึก IUI คืออะไร เหมาะกับใครบ้าง? (https://hdmall.co.th/c/what-is-iui/), 13 กุมภาพันธ์ 2567.
  • Prime Fertility Center, ชาย/หญิง ทำหมันแล้ว! สามารถทำ IUI ได้ไหม? (https://www.primefertilitycenter.com/ทำหมันแล้ว-ทำiuiได้ไหม/), 13 กุมภาพันธ์ 2567.
  • โรงพยาบาลบีเอ็นเอช, การฉีดผสมเทียม IUI วิธีการพื้นฐานสำหรับแก้ไขภาวะมีบุตรยาก (https://www.bnhhospital.com/th/fertility-center/iui/), 13 กุมภาพันธ์ 2567.
  • โรงพยาบาลรังสิต, IUI ทางเลือกผู้มีภาวะมีบุตรยาก (https://www.patrangsit.com/iui-ทางเลือกผู้มีภาวะมีบุ/), 13 กุมภาพันธ์ 2567

 

สนใจเข้ารับการปรึกษาภาวะมีบุตรยาก
ติดต่อ Prime Fertility Center
โทร : 062-648-6688 / 062-648-8866 / 02-029-1418–9
Line : http://line.me/ti/p/~@primefertility
Facebook : https://www.facebook.com/primefertilitycenter
E-mail : [email protected]

เวลาทำการ
วันจันทร์ – วันพุธ , วันศุกร์และวันเสาร์
เวลา 08.00 – 16:00 น.
หยุดวันพฤหัสบดี วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

 

Related Posts