ช่วงไหนควรเก็บไข่ และขั้นตอนการเก็บไข่ ฝากไข่ ต้องนอนพักค้างคืนที่คลินิกไหม?
วางแผนฝากไข่ เตรียมพร้อมสำหรับการเป็นคุณแม่
ผู้หญิงหลายคนเจอปัญหาภาวะมีบุตรยาก ไม่ว่าจะด้วยช่วงอายุที่มากขึ้น หรือปัญหาสุขภาพต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ค่านิยมในการตั้งครรภ์ของผู้หญิงเปลี่ยนไป ผู้หญิงหลายคนต้องการมีทรัพย์สินเยอะๆ วางแผนระยะยาวในการมีลูก ทำให้ความนิยมในการแต่งงานและมีลูกในช่วงอายุที่เพิ่มมากขึ้น มีเปอร์เซ็นต์ที่สูงขึ้นตาม แม้ว่าในปัจจุบันจะมีกระบวนการทางเทคโนโลยีที่ค่อนข้างทันสมัย สามารถประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ได้ แต่กระบวนการดังกล่าว ต้องมีความพร้อม ทั้งทางด้านเวลา จิตใจ และกำลังทรัพย์จำนวนไม่น้อย ดังนั้นการฝากไข่ เก็บไข่ จะต้องมีการวางแผนและศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อให้การฝากไข่เกิดความสำเร็จสูงสุด
ข้อดีและความสำคัญของการฝากไข่
- การฝากไข่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี เนื่องจากเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นจำนวนของไข่และคุณภาพก็จะลดลงเรื่อยๆ
- เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มีปัญหาด้านสุขภาพ
- ช่วยลดโอกาสในการเกิดความผิดปกติของโครโมโซมของทารก
- ช่วยลดโอกาสในการเกิดดาวน์ซินโดรมของทารกได้
- เป็นกระบวนการที่ตอบโจทย์การวางแผนสำหรับการมีลูกได้ด้วยตนเองสำหรับคนที่อยากกำหนดช่วงอายุที่จะตั้งครรภ์ โดยการฝากไข่สามารถเก็บไว้ได้นานเท่านานจนถึงช่วงเวลาที่ฝ่ายหญิงพร้อมจะตั้งครรภ์
กระบวนการและขั้นตอนเก็บไข่ ฝากไข่
- ตรวจฮอร์โมน ขั้นตอนแรกของการเก็บไข่ ฝากไข่ ได้แก่การตรวจฮอร์โมน โดยแพทย์จะตรวจคัดกรองความผิดปกติของอวัยวะในอุ้งเชิงกราน ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาเนื้องอกในมดลูก เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ พร้อมกับทำการตรวจดูไข่ที่รังไข่เพื่อประเมินปริมาณไข่ก่อนการเริ่มกระบวนการรักษา โดยจะต้องทำหลังจากมีประจำเดือน 2-3 วันแรก หลังจากนั้นจะทำการตรวจเลือดเพื่อให้ทราบถึงสภาพการทำงานของรังไข่ประจำรอบเดือนนั้นๆ
- การกระตุ้นรังไข่ เมื่อผลตรวจออกมาแล้วแพทย์พิจารณาว่าสามารถกระตุ้นไข่ได้ในเดือนนั้น ก็จะสั่งยาฉีดเพื่อการกระตุ้นไข่ให้เกิดการเจริญเติบโตและมีปริมาณมากกว่าปกติ และจะมียาฉีดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไข่ตกก่อนเวลาด้วย
- ติดตามขนาดของไข่ จากนั้นก็จะมีการนัดติดตามผลการกระตุ้นไข่เป็นระยะ โดยเป็นการตรวจฮอร์โมน ร่วมกับการอัลตราซาวด์ เพื่อนับจำนวนไข่และขนาดของไข่
- ฉีดยากระตุ้น หากไข่มีปริมาณและขนาดที่เหมาะสมแล้ว แพทย์ก็จะสั่งยาเพื่อฉีดให้ไข่พร้อมสำหรับการเก็บไข่ และนัดเก็บไข่เป็นขั้นตอนถัดไป
เก็บไข่ เมื่อผ่านไป 34-36 ชั่วโมงหลังการฉีดยากระตุ้น แพทย์ก็จะทำการเก็บไข่ โดยจะอัลตราซาวด์เพื่อกำหนดตำแหน่งไข่ หลังจากนั้นจะนำเข็มที่ใช้ในการเก็บไข่โดยเฉพาะ สอดเข้าไปที่รังไข่ เพื่อดูดเซลล์ไข่ - ออกมาเก็บไข่ โดยขั้นตอนนี้จะต้องมีการใช้ยาสลบ การเก็บไข่จะใช้เวลาประมาณ 30 นาที และใช้เวลาพักฟื้นเพียง 1-2 ชั่วโมงเท่านั้นเพื่อดูอาการ หากไม่มีอาการผิดปกติหลังการฝากไข่ แพทย์ก็จะอนุญาตให้กลับบ้านได้ โดยไม่จำเป็นต้องพักค้างคืนที่คลินิกหรือโรงพยาบาล
วิธีปฏิบัติก่อน ระหว่างและหลังการเก็บไข่ ฝากไข่
- ก่อนการฝากไข่
- ฉีดยากระตุ้นไข่ตรงเวลาสม่ำเสมอ
- เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยแนะนำให้ทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ลดแป้ง ลดหวาน ไม่ทานขนมขบเคี้ยว
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- พักผ่อนให้เพียงพอ และรู้จักจัดการกับความเครียด
- ไม่ทานอาหารที่ทำให้ท้องไส้ปั่นป่วน เช่น ของหมักดอง อาหารรสจัด
ช่วงเวลาเข้ารับการเก็บไข่ ฝากไข่
- ทำจิตใจให้สงบ ไม่วิตกกังวลหรือเครียดเกี่ยวกับขั้นตอนการรักษาจนเกินไป
- ไม่ยกของหนักหรือทำสิ่งที่ต้องใช้พลังงานอย่างหนักก่อนการมาเก็บไข่ เช่น การวิ่งทางไกล กระโดดเชือก ยกเวท และการมีเพศสัมพันธ์
- งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนการฝากไข่
- งดการแต่งหน้า งดทำเล็บ งดฉีดน้ำหอม และงดการใส่คอนแทคเลนส์
- การฝากไข่ควรมีผู้ดูแลมาด้วยอย่างน้อย 1 คน เพื่อคอยดูอาการหลังการเก็บไข่
หลังการฝากไข่
- ควรมีผู้ดูแล โดยเฉพาะในช่วงวันแรก ๆ หลังการฝากไข่ ไม่ควรขับรถเอง
- ไม่ยกของหนักหรือทำสิ่งที่ต้องใช้พลังงานอย่างหนัก ไม่ออกกำลังกายอย่างหักโหม และไม่ควรมีเพศสัมพันธ์หลังการฝากไข่อย่างน้อย 1 สัปดาห์
- หากมีอาการปวดท้องหรือท้องอืดท้องบวม ควรรีบพบแพทย์ทันที
- หากมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด โดยลักษณะเป็นเลือดสีแดงสด ควรรีบพบแพทย์โดยเร่งด่วน
- ไม่รับประทานอาหารที่อาจส่งผลให้เกิดภาวะท้องผูกหรือท้องเสีย เช่น ส้มตำ ของหมักดอง ถั่ว เป็นต้น
- แนะนำให้รับประทานไข่ขาว เนื่องจากโปรตีนไข่ขาว มีส่วนช่วยดูดน้ำกลับ สามารถลดอาการท้องอืด ท้องบวม และลดปริมาณน้ำในท้องได้
การฝากไข่จะมีอัตราความสำเร็จสูงหากทำในช่วงอายุยังน้อย โดยช่วงอายุที่แนะนำคือช่วง 30-35 ปี หรือน้อยกว่านั้นสำหรับคนที่วางแผนสำหรับการมีลูกด้วยตนเองด้วยการฝากไข่ ดังนั้นควรวางแผนปรึกษาแพทย์เรื่องการฝากไข่ และทำตั้งแต่อายุยังน้อย เพื่อให้ประสบความสำเร็จมีไข่ที่มีคุณภาพไว้ใช้ในอนาคต และนอกจากจะทำการศึกษาอย่างละเอียดก่อนเข้ารับการรักษาแล้ว การเลือกโรงพยาบาลหรือคลินิกที่มีความเชี่ยวชาญด้านสูตินรีเวชก็สำคัญไม่แพ้กัน
Prime Fertility Center ไม่ได้เพียงแค่ให้การรักษาภาวะมีบุตรยาก มีบุตรยาก มีลูกยากเพียงเท่านั้น สิ่งที่ Prime Fertility Center มุ่งหวัง และมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง คือการให้บริการลูกค้าด้วยความใส่ใจ พร้อมให้คำปรึกษา ดูแล และใส่ใจทุกความรู้สึกของคุณ เหมือนกับเป็นคนในครอบครัว เพราะเราเข้าใจถึงความรู้สึก ความกดดัน ความเครียดของผู้เข้ารับบริการที่ไม่สามารถมีบุตรได้สำเร็จเป็นอย่างดี ทางคลินิกจึงมีความตั้งใจที่จะมอบความอบอุ่น และอำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้ารับบริการอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยความมุ่งมั่นและความใส่ใจจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นักเพาะเลี้ยงตัวอ่อน และทีมงานมากประสบการณ์ในการดูแลและให้คำปรึกษาแบบครบวงจร
สนใจเข้ารับการปรึกษาภาวะมีบุตรยาก
ติดต่อ Prime Fertility Center
โทร : 062-648-6688 / 062-648-8866 / 02-029-1418–9
Line : http://line.me/ti/p/~@primefertility
Facebook : https://www.facebook.com/primefertilitycenter
E-mail : [email protected]
เวลาทำการ
วันจันทร์ – วันพุธ , วันศุกร์และวันเสาร์
เวลา 08.00 – 16:00 น.
หยุดวันพฤหัสบดี วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์