PCOS กับการตั้งครรภ์


PCOS กับการตั้งครรภ์

PCOS (Polycystic Ovary Syndrome) คือ #ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายมีระดับเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน แอนโดรเจน และอินซูลินที่ไม่สมดุล เกิดเป็นถุงน้ำขนาดเล็กจำนวนหลายใบอยู่ในรังไข่ และส่งผลให้รังไข่ทำงานผิดปกติ โดยอาการนี้มักพบมากขึ้นในวัยรุ่น และพบมากถึง 1 ใน 10 ของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์

#PCOS กับการตั้งครรภ์ ส่งผลให้มีลูกยาก?

💬 PCOS ถือเป็นหนึ่งในสาเหตุของภาวะมีลูกยาก เนื่องจากเกิดภาวะการตกไข่ที่ไม่สม่ำเสมอ หรือไม่มีการตกไข่ ส่งผลให้อสุจิไม่สามารถเข้าไปผสมได้ โอกาสในการตั้งครรภ์จึงน้อยลง ในกรณีที่สามารถตั้งครรภ์ได้แล้ว แต่ยังมีภาวะ PCOS อยู่ ร่างกายที่มีฮอร์โมนเพศชายที่สูงกว่าปกติอาจไปทำให้ฮอร์โมนอื่นๆ ที่มีหน้าที่ช่วยพยุงการตั้งครรภ์ทำงานได้ไม่ดี ซึ่งทำให้มีโอกาสแท้งบุตรได้ง่ายขึ้น หรืออาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษ คลอดก่อนกำหนด เป็นต้น รวมถึงอาจเป็นต้นเหตุของอาการเรื้อรังอื่นๆ ในอนาคตอีกด้วย
 

ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค PCOS

ฮอร์โมนแอนโดรเจนสูง : ภาวะที่ผู้หญิงมีฮอร์โมนแอนโดรเจนหรือฮอร์โมนเพศชายมากเกินไป สังเกตได้จากลักษณะของร่างกายที่คล้ายกับเพศชาย เช่น ปัญหาขนดก ผมร่วง ศีรษะล้าน ผิวหน้ามัน เป็นสิวง่าย

ภาวะดื้ออินซูลิน : คือภาวะที่ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินลดลง ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง และส่งผลให้ร่างกายผลิตอินซูลินออกมามากขึ้น ซึ่งเมื่อระดับอินซูลินในร่างกายสูงกว่าปกติ จะทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมากเกินไป และฮอร์โมนนี้จะไปรบกวนการตกไข่ ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ

น้ำหนักเกิน : ผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกิน หรือภาวะอ้วน โดยเฉพาะลักษณะอ้วนลงพุง มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน มีการสร้างฮอร์โมนที่ผิดปกติ ทำให้รังไข่มีการผลิตฮอร์โมนเพศชายมากขึ้นกว่าปกติ ประจำเดือนมาผิดปกติ จึงเป็นสาเหตุของการเกิด PCOS ได้

กรรมพันธุ์ : มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า บางครอบครัวที่มารดามีภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ ลูกสาวก็จะมีภาวะนี้ด้วย แต่ปัจจุบันก็ยังไม่มีการศึกษาที่แน่ชัดว่าภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
การป้องกันภาวะถุงน้ำรังไข่จำนวนมาก (PCOS)

การป้องกัน PCOS ยังไม่มีวิธีที่แน่นอน เนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยใดออกมายืนยันถึงสาเหตุที่แน่ชัดได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วย PCOS ควรปรับพฤติกรรมและเสริมสร้างสุขภาพที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ออกกำลังเป็นประจำ งดดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่มีอาการผิดปกติหรือสงสัยภาวะ PCOS ควรเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมต่อไป
.
กฤษณพร บุญคงจงใจ
(นักเทคนิคการแพทย์)

Prime Fertility Center ไม่ได้เพียงแค่ให้การรักษาภาวะมีบุตรยาก มีบุตรยาก มีลูกยากเพียงเท่านั้น สิ่งที่ Prime Fertility Center มุ่งหวัง และมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง คือการให้บริการลูกค้าด้วยความใส่ใจ พร้อมให้คำปรึกษา ดูแล และใส่ใจทุกความรู้สึกของคุณ เหมือนกับเป็นคนในครอบครัว เพราะเราเข้าใจถึงความรู้สึก ความกดดัน ความเครียดของผู้เข้ารับบริการที่ไม่สามารถมีบุตรได้สำเร็จเป็นอย่างดี ทางคลินิกจึงมีความตั้งใจที่จะมอบความอบอุ่น และอำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้ารับบริการอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยความมุ่งมั่นและความใส่ใจจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นักเพาะเลี้ยงตัวอ่อน และทีมงานมากประสบการณ์ในการดูแลและให้คำปรึกษาแบบครบวงจร

สนใจเข้ารับการปรึกษาภาวะมีบุตรยาก
ติดต่อ Prime Fertility Center
โทร : 062-648-6688 / 062-648-8866 / 02-029-1418–9
Line : http://line.me/ti/p/~@primefertility
Facebook : https://www.facebook.com/primefertilitycenter
E-mail : [email protected]

 

Related Posts