ความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อนกับภาวะมีบุตรยาก

ความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อนกับภาวะมีบุตรยาก

รักษาภาวะมีบุตรยาก

ความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อนกับภาวะมีบุตรยาก

ทำความรู้จักกับ 4 ความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อนกับภาวะมีบุตรยาก ใครบ้างที่เหมาะกับการตรวจรักษา

ทุกวันนี้ ภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน ปัญหาทางพันธุกรรม ปัญหาเกี่ยวกับการตกไข่ หรือแม้แต่ปัญหาทางการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของระบบสืบพันธุ์ รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมายที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะมีบุตรยาก เช่น อายุ น้ำหนัก ประวัติการรักษา และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นต้น ในวันนี้ เราจะมาพูดถึงเรื่องของความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อนกับภาวะมีบุตรยาก ว่ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร ไปหาคำตอบพร้อมกันเลย

 

เทคโนโลยีที่ใช้ในการตรวจความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน กับภาวะมีบุตรยาก ใครบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจโครโมโซม

สำหรับขั้นตอนในการตรวจความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน จะเป็นหนึ่งในกระบวนการในการทำ IVF, ICSI เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับภาวะมีบุตรยาก เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สูงขึ้น และลดความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน โดยผู้ที่เหมาะกับการเข้ารับการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน มีดังนี้

  1. เพศหญิงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
  2. ผู้ที่มีประวัติการตั้งครรภ์ทารกที่มีความผิดปกติของโครโมโซมมาก่อน
  3. ผู้ที่มีประวัติการแท้งบุตรซึ่งอายุครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
  4. ผู้ที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่า การแท้งบุตรเกิดขึ้นจากสาเหตุความผิดปกติทางโครโมโซม
  5. ผู้ที่เคยรักษาด้วยวิธีการทำเด็กหลอดแก้วมาก่อนแต่ยังไม่สำเร็จ
  6. ผู้ที่มีประวัติครอบครัวมีความความผิดปกติทางโครโมโซม

เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ​ จะมีการเลือกใช้เทคโนโลยีในการตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน ดังนี้

  • เทคโนโลยี Preimplantation Genetic Testing (PGT)
    เป็นเทคโนโลยีที่วินิจฉัยความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนที่เกิดจากความผิดปกติของจำนวนโครโมโซม และ/หรือยีนที่เฉพาะเจาะจงกับโรคบางอย่าง ก่อนที่จะนำตัวอ่อนย้ายเข้าสู่โพรงมดลูก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการลดความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติทางพันธุกรรมของทารกได้
  • เทคโนโลยี Next-generation sequencing (NGS)
    เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการตรวจจำนวนของโครโมโซมที่เกินมา หรือขาดหายไป เพื่อลดปัญหาที่ตัวอ่อนจะไม่ทำการฝังตัว จนเกิดการแท้งในช่วงสามเดือนแรก หรือเกิดการตั้งครรภ์จากโครโมโซมที่ผิดปกติ จนทำให้ทารกมีความเสี่ยงที่จะพิการหรือบกพร่องตั้งแต่กำเนิด เทคโนโลยี NGS สามารถตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมได้อย่างครอบคลุมทั้ง 24 โครโมโซม ซึ่งมีความแม่นยำสูง มีอัตราความผิดพลาดต่ำมากที่สุดเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่น ๆ ทำให้เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมในการใช้งาน เพราะมีประสิทธิภาพสูง รวมถึงทราบผลตรวจได้อย่างรวดเร็วภายใน 3-5 วัน

4 ความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อนกับภาวะมีบุตรยาก ที่ทำให้คุณแม่มีลูกยาก

ต่อไปเราจะมาพูดถึงเรื่องของปัจจัยทางพันธุกรรม ที่ส่งผลต่อภาวะมีบุตรยาก ที่ทำให้คุณแม่มีลูกยาก ซึ่งอาจมีเหตุผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมจากครอบครัวรุ่นพ่อแม่ หรือจากสาเหตุอื่น ๆ ที่แตกต่างกันออกไป สำหรับความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อนกับภาวะมีบุตรยาก ที่ทำให้คุณแม่มีลูกยาก ได้แก่

  • ความผิดปกติจากกลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner Syndrome)
    เป็นความผิดปกติที่เกิดจากการที่ผู้หญิงมีจำนวนโครโมโซม x หายไปบางส่วน หรือหายไปในจำนวน 1 แท่ง อาจเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับอสุจิหรือไข่ และอาจเกิดในระยะที่เด็กยังเป็นตัวอ่อนในครรภ์ เป็นอีกหนึ่งความผิดปกติที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ได้
  • ความผิดปกติจากโครโมโซม x เปราะ (Fragile X Syndrome)
    เป็นความผิดปกติที่เกิดจากการที่ผู้หญิงมีโครโมโซม X ที่ไม่สมบูรณ์ เปราะบาง จนทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นภาวะรังไข่เสื่อมก่อนวัย ซึ่งทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ความผิดปกตินี้มักจะเกิดในผู้หญิงที่มีอายุไม่เกิน 40 ปี นอกจากจะทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากแล้ว ยังมีความเสี่ยงที่จะทำให้บุตรที่เกิดมามีความบกพร่องทางสติปัญญาได้อีกด้วย
  • ความผิดปกติจากฮอร์โมนต่อมหมวกไตบกพร่องแต่กำเนิด (Congenital Adrenal Hyperplasia)
    เป็นความผิดปกติที่เกิดจากพันธุกรรม ส่งผลทั้งต่อเพศหญิงและเพศชาย ซึ่งสำหรับเพศหญิง ความผิดปกตินี้จะก่อให้เกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งจะมีผลให้รอบประจำเดือนมีการเปลี่ยนแปลงจนนำไปสู่ภาวะมีบุตรยาก
  • ความผิดปกติจากการจัดเรียงโครโมโซมผิดปกติ (Chromosome Rearrangement)
    เป็นความผิดปกติที่เกิดจากการที่ผู้หญิงมีร่างกายที่มีการจัดเรียงโครโมโซมผิดปกติ ทำให้ส่งผลต่อความสามารถในการตั้งครรภ์ ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก รวมถึงมีความเสี่ยงในการแท้ง และมีโอกาสทำให้ทารกมีความพิการแต่กำหนด หรือมีความบกพร่องทางสติปัญญาได้

 

Prime Fertility Center คลินิกผู้ให้บริการปรึกษาและรักษาภาวะมีบุตรยาก พร้อมการเตรียมตัววางแผนตั้งครรภ์ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่อยากมีลูก

เป็นอย่างกันบ้าง กับความรู้เรื่องความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อนกับภาวะมีบุตรยาก ที่เรานำมาแนะนำกันในวันนี้ หากคุณผู้หญิงหรือคู่รักท่านใดที่อยากมีลูก แต่กำลังประสบปัญหากับภาวะมีบุตรยาก ที่ทำให้มีลูกยาก รวมถึงไม่สามารถวางแผนในการตั้งครรภ์ได้ แนะนำให้เข้ารับการปรึกษาจาก Prime Fertity Center คลินิกเฉพาะทางด้านการรักษาภาวะมีบุตรยาก เลือกใช้เทคโนโลยีรักษาที่มีความทันสมัยล่าสุด ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง ผ่านการรับรองมาตรฐานในระดับสากล รวมถึงมาตรฐานความปลอดภัยอย่าง ISO 15189 และ ISO 15190 ควบคุมดูแลการรักษาอย่างละเอียดในทุกขั้นตอน โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการให้บริการรักษาและให้คำปรึกษาด้านภาวะมีบุตรยากโดยเฉพาะ เพื่อตรวจหาความเสี่ยงความผิดปกติของโครโมโซม การรักษาเห็นผลได้จริง และมีราคาเหมาะสม ทั้งหมดนี้ เพื่อให้คุณผู้หญิงสามารถตั้งครรภ์ได้อย่างมั่นใจ ไร้กังวล มอบสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดให้กับลูกน้อยในครรภ์

 

สนใจเข้ารับการปรึกษาภาวะมีบุตรยาก
ติดต่อ Prime Fertility Center
โทร : 062-648-6688 / 062-648-8866 / 02-029-1418–9
Line : http://line.me/ti/p/~@primefertility
Facebook : https://www.facebook.com/primefertilitycenter
E-mail : [email protected]

เวลาทำการ
วันจันทร์ – วันพุธ , วันศุกร์และวันเสาร์
เวลา 08.00 – 16:00 น.
หยุดวันพฤหัสบดี วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

 

 

Related Posts

17

ธ.ค.
ข่าวสาร สาระน่ารู้

พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์!!

พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์!! สำหรับการนอนนี่เป็นเรื่องหลักในการมีลู […]