23 มกราคม พร้อมจดทะเบียนสมรสเท่าเทียม!!
โดยสิทธิต่าง ๆ ที่มีผลบังคับใช้ทันทีที่มีการจดทะเบียนสมรสตามที่กฎหมายกำหนด สามารถสรุปสิทธิและหน้าที่สำคัญที่ “คู่สมรส” จะได้รับ ดังนี้
1. การหมั้น การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อบุคคลทั้ง 2 ฝ่ายมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์แล้ว โดยการหมั้นถือเป็นการแสดงเจตจำนงต่อการสมรสในอนาคต และการหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายผู้หมั้นได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่ผู้รับหมั้น เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับผู้รับหมั้นนั้น และเมื่อหมั้นแล้วให้ของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้รับหมั้น
2. การสมรส การสมรสจะกระทำได้เมื่อทั้ง 2 ฝ่ายมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์แล้ว อย่างไรก็ตาม หากมีเหตุอันสมควร ศาลสามารถอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนอายุที่กำหนดได้
3. การจดทะเบียนสมรส การสมรสจะสมบูรณ์ตามกฎหมายเมื่อคู่สมรสทั้ง 2 ฝ่ายแสดงความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน และให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมนั้นไว้อย่างเป็นทางการ
4. การจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติตามกฎหมายไทย บุคคลที่ประสงค์จะจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติสามารถจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยได้ สามารถทำได้ภายในประเทศไทย คือ จดทะเบียนสมรสที่ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตในกรุงเทพมหานคร หรือทำในต่างประเทศ ณ สถานทูตไทยหรือสถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศ
5. การหย่า เมื่อคู่สมรสตัดสินใจแยกทาง การหย่าจะสมบูรณ์ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนหย่าตามกฎหมาย ทั้งนี้ หากเป็นการหย่าโดยความยินยอมของทั้ง 2 ฝ่าย ให้ทำความตกลงเป็นหนังสือว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด ถ้ามิได้ตกลงกันหรือตกลงกันไม่ได้ ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด รวมถึงการทำสัญญาเรื่องการออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเงินเท่าใดด้วย เมื่อบุคคลทั้ง 2 หย่ากันให้แบ่งสินสมรสแต่ละฝ่ายได้ส่วนเท่ากัน
6. การจัดการทรัพย์สิน – หนี้สินร่วมกัน คู่สมรสมีสิทธิและหน้าที่ในการจัดการทรัพย์สินที่ได้มาร่วมกันระหว่างสมรส รวมถึงการดูแลผลประโยชน์จากทรัพย์สินเหล่านั้น และการร่วมกันบริหารหนี้สิน ทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส
7. สิทธิประโยชน์และสวัสดิการจากรัฐ คู่สมรสมีสิทธิได้รับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่รัฐจัดสรรให้ เช่น การลดหย่อนภาษี สิทธิในประกันสังคม บำเหน็จ-บำนาญชราภาพ และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ในฐานะคู่สมรส
8. การให้ความยินยอมทางการแพทย์ ในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล คู่สมรสอีกฝ่ายมีสิทธิในการให้ความยินยอมแทนได้ ซึ่งเป็นไปตามหลักการให้ความยินยอมในการรักษาพยาบาล กรณีที่ผู้ป่วยไม่อยู่ในสภาวะที่จะรับทราบข้อมูลสุขภาพเพื่อตัดสินใจรักษาพยาบาล จะต้องแจ้งให้ทายาทโดยธรรม ซึ่งคู่สมรสก็เป็นทายาทโดยธรรมตามกฎหมายด้วย
9. การอุปการะเลี้ยงดู คู่สมรสมีสิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจากกันในกรณีที่ไม่ได้รับการดูแลตามสมควร เช่นเดียวกับสิทธิในการเรียกร้องค่าเลี้ยงดูระหว่างบิดามารดากับบุตร
10. การรับบุตรบุญธรรม คู่สมรสมีสิทธิรับบุตรบุญธรรมร่วมกันได้ โดยมีเงื่อนไขหลักคือ ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่กฎหมายกำหนด
ไพร์ม เฟอร์ทิลิตี้ ขอเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมแสดงความยินดีในครั้งนี้ และพร้อมให้บริการคู่รักทุก ๆ ท่านอย่างเท่าเทียมและทั่วถึงค่ะ
ที่มา : https://www.thaipbs.or.th/news/content/347985
—
Prime Fertility Center ไม่ได้เพียงแค่ให้การรักษาภาวะมีบุตรยาก มีบุตรยาก มีลูกยากเพียงเท่านั้น สิ่งที่ Prime Fertility Center มุ่งหวัง และมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง คือการให้บริการลูกค้าด้วยความใส่ใจ พร้อมให้คำปรึกษา ดูแล และใส่ใจทุกความรู้สึกของคุณ เหมือนกับเป็นคนในครอบครัว เพราะเราเข้าใจถึงความรู้สึก ความกดดัน ความเครียดของผู้เข้ารับบริการที่ไม่สามารถมีบุตรได้สำเร็จเป็นอย่างดี ทางคลินิกจึงมีความตั้งใจที่จะมอบความอบอุ่น และอำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้ารับบริการอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยความมุ่งมั่นและความใส่ใจจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นักเพาะเลี้ยงตัวอ่อน และทีมงานมากประสบการณ์ในการดูแลและให้คำปรึกษาแบบครบวงจร
สนใจเข้ารับการปรึกษาภาวะมีบุตรยาก
ติดต่อ Prime Fertility Center
โทร : 062-648-6688 / 062-648-8866 / 02-029-1418–9
Line : http://line.me/ti/p/~@primefertility
Facebook : https://www.facebook.com/primefertilitycenter
E-mail : info@primefertilitycenter.com