ตัวอ่อนแช่แข็ง แช่ไว้ได้นานแค่ไหนกันนะ?
Molly Everette Gibson เกิดจากตัวอ่อนที่ถูกแช่แข็งไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1992 โดยเก็บไว้ใน Cryogenic (ultra-cold) freezer ตามรายงานของ The Washington Post จากนั้นในปี ค.ศ. 2012 ตัวอ่อนได้ถูกย้ายไปยังสถานรับเลี้ยงตัวอ่อนสำหรับบริจาค (National Embryo Donation Center) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงกำไร มีหน้าที่เก็บรักษาตัวอ่อนแช่แข็งที่เกิดจากการปฏิสนธินอกร่างกาย และครอบครัวตัดสินใจจะไม่ใช้ตัวอ่อนดังกล่าวแล้ว ตัวอ่อนเหล่านี้จึงสามารถย้ายไปยังมดลูกของครอบครัวบุญธรรมในอนาคตได้
ก่อนหน้านี้ครอบครัวบุญธรรม Gibson เคยให้กำเนิดทารกเพศหญิงแล้ว 1 คนคือ Emma Wren Gibson ซึ่งเกิดจากตัวอ่อนที่ถูกแช่แข็งเป็นระยะเวลา 24 ปีและในเดือนกุมภาพันธ์ปี ค.ศ. 2020 ครอบครัวนี้ก็ได้ตัดสินใจรับตัวอ่อนบุญธรรมอีกครั้ง โดยการฝังตัวอ่อนของ Molly เข้าไปในมดลูกของ Tina Gibson วัย 29 ปี ซึ่งหากนับเวลาตามจริงแล้ว ตอนที่ตัวอ่อนของ Molly ถูกแช่แข็ง Tina มีอายุเพียง 1 ปีเท่านั้น
ในทางทฤษฎีตัวอ่อนสามารถแช่แข็งได้นานแค่ไหน?
ตัวอ่อนหรือ Embryo จะถูกแช่แข็งเก็บไว้ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การเก็บรักษาด้วยความเย็น (Cryopreservation) โดยการใช้ไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่หยุดกิจกรรมทางชีวภาพทั้งหมด โดย Behr กล่าวว่า “หากกิจกรรมทางชีวภาพทั้งหมดหยุดลง คุณจะต้องกดปุ่มหยุดชั่วคราวเป็นหลัก และสิ่งต่างๆจะกลับมาทํางานก็ต่อเมื่อคุณถอดปุ่มหยุดชั่วคราวออก” ดังนั้น ตัวอ่อนที่ถูกหยุดชั่วคราวเป็นเวลาหลายสิบปี เมื่อละลายและฝังตัวแล้ว ก็ยังสามารถเจริญเติบโตต่อไปตามธรรมชาติได้เช่นกัน
ดร. Mary Ellen Pavone รองศาสตราจารย์ด้านสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาที่ Northwestern Medicine ในรัฐอิลลินอยส์เห็นด้วยว่าตัวอ่อนสามารถ “เก็บแช่แข็งไว้ได้อย่างไม่มีกําหนด” เนื่องจากการศึกษาในสาขา Embryology และวิธีการแช่แข็งในปัจจุบันมีความก้าวหน้าอย่างมาก การแช่แข็งตัวอ่อนครั้งแรกในทศวรรษ 1980 เคยถูกแช่แข็งด้วยวิธีการแช่แข็งแบบช้า (Slow freezing) แต่ปัจจุบันจะแช่แข็งด้วยเทคนิคที่เรียกว่า “การทําให้เป็นแก้ว (Vitrification)”
นอกจากนี้การแช่แข็งแรกเริ่มตัวอ่อนจะถูกแช่แข็งในระยะ Day 2 หรือ Day 3 ซึ่งมีเซลล์เพียง 2 – 8 เซลล์เท่านั้น แต่ ณ ปัจจุบันนิยมแช่แข็งตัวอ่อนระยะ Blastocyst ซึ่งตัวอ่อนจะแข็งแรงมากกว่าด้วยจำนวนเซลล์ที่มากขึ้น อีกทั้งยังไม่เห็นความแตกต่างด้านสุขภาพในทารกที่เกิดจากตัวอ่อนแช่แข็งเมื่อเปรียบเทียบกับทารกที่เกิดจากการย้ายตัวอ่อนรอบสด แต่อาจมีรายงานความแตกต่างเล็กน้อยในส่วนของเยื่อบุโพรงมดลูกของคุณแม่แทน
ดังนั้น ตัวอ่อนสามารถแช่แข็งไว้ได้นานแบบไม่มีกำหนด และยังสามารถทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ตามปกติ แต่โดยทั่วไปตัวอ่อนจะไม่ถูกเก็บไว้นานเนื่องจากผู้ป่วยมักกลับมาใช้ตัวอ่อนดังกล่าวก่อนนั่นเอง
.
ทนพญ.ปวรัตน์ สังขสวัสดิ์
Embryologist
Ref: How long can human embryos stay frozen? | Live Science
Baby born from 27-year-old embryo believed to have broken record set by her big sister | CNN
—
Prime Fertility Center ไม่ได้เพียงแค่ให้การรักษาภาวะมีบุตรยาก มีบุตรยาก มีลูกยากเพียงเท่านั้น สิ่งที่ Prime Fertility Center มุ่งหวัง และมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง คือการให้บริการลูกค้าด้วยความใส่ใจ พร้อมให้คำปรึกษา ดูแล และใส่ใจทุกความรู้สึกของคุณ เหมือนกับเป็นคนในครอบครัว เพราะเราเข้าใจถึงความรู้สึก ความกดดัน ความเครียดของผู้เข้ารับบริการที่ไม่สามารถมีบุตรได้สำเร็จเป็นอย่างดี ทางคลินิกจึงมีความตั้งใจที่จะมอบความอบอุ่น และอำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้ารับบริการอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยความมุ่งมั่นและความใส่ใจจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นักเพาะเลี้ยงตัวอ่อน และทีมงานมากประสบการณ์ในการดูแลและให้คำปรึกษาแบบครบวงจร
สนใจเข้ารับการปรึกษาภาวะมีบุตรยาก
ติดต่อ Prime Fertility Center
โทร : 062-648-6688 / 062-648-8866 / 02-029-1418–9
Line : http://line.me/ti/p/~@primefertility
Facebook : https://www.facebook.com/primefertilitycenter
E-mail : info@primefertilitycenter.com