
ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจฝากไข่ ผลดี-ผลเสีย และข้อพิจารณาสำคัญ
เมื่อไม่กี่ปีก่อน “การฝากไข่” มักถูกมองเป็นทางเลือกท้าย ๆ สำหรับสาว ๆ ที่ต้องการจะมีลูกแล้วอายุเกิน 35 ปี หรือยังไม่พร้อมมีลูกด้วยเหตุผลบางอย่าง แต่ทุกวันนี้ด้วยไลฟ์สไตล์ของผู้หญิงยุคใหม่ ค่านิยมของคนไทย หรือเทคโนโลยีทางการแพทย์ ทำให้แนวคิดเรื่องการฝากไข่กลายเป็นหัวข้อที่ผู้หญิงวัย 25 – 35 ปีให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ
แต่ก่อนจะตัดสินใจ หลายคนอาจยังมีคำถามในใจ เช่น “ฝากไข่ดีไหม ?” “ฝากไข่ราคาเท่าไหร่ ?” หรือ “คุ้มค่ากับการลงทุนหรือเปล่า ?” บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจทั้งข้อดีและสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการฝากไข่แบบครบถ้วนกันค่ะ
การฝากไข่คืออะไร ?
การฝากไข่ (Egg Freezing) คือการเก็บรักษาเซลล์ไข่ของผู้หญิงไว้ด้วยอุณหภูมิที่เย็นจัด เพื่อใช้งานในอนาคต โดยไม่ให้คุณภาพของไข่เสื่อมลงตามเวลา เหมาะสำหรับผู้หญิงที่ยังไม่พร้อมมีลูกในตอนนี้ แต่ต้องการรักษาคุณภาพของไข่เพื่อให้การตั้งครรภ์สมบูรณ์ดีที่สุด
6 เรื่องที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับการฝากไข่
1. การฝากไข่เหมือนการลงทุนเพื่อสุขภาพและจิตใจ
หลายคนมองว่าฝากไข่คือการจ่ายเงินเพื่อรักษาความสามารถในการมีลูกในอนาคต แต่ในอีกมุมก็เปรียบเหมือนเป็นการลงทุนต่อสภาวะจิตใจทำให้ผู้หญิงอย่างเราสบายใจมากขึ้น ไม่ต้องรู้สึกเร่งรีบในการมีลูก และช่วยลดความกดดันทางจิตใจของคุณผู้หญิงได้มากเลยทีเดียวค่ะ
2. รักษาคุณภาพไข่ในช่วงที่ร่างกายแข็งแรงที่สุด
รู้ไหมว่าคุณภาพของไข่ลดลงตามอายุ โดยเฉพาะหลังอายุ 35 ปีขึ้นไป ดังนั้นการฝากไข่ไว้ในช่วงที่ยังอายุน้อยจะช่วยให้ไข่มีโครโมโซมที่สมบูรณ์มากกว่า และลดโอกาสของความผิดปกติทางพันธุกรรมเมื่อนำมาใช้ในอนาคตค่ะ
3. การฝากไข่ไม่ได้รับประกันการตั้งครรภ์
แม้เทคโนโลยีจะพัฒนาไปมาก จนสามารถเก็บไข่ไว้ได้นานหลายปี แต่ก็ไม่ได้การันตีว่าจะมีโอกาสตั้งครรภ์ได้แน่นอน เพราะการฝากไข่เป็นเพียงการ “เพิ่มโอกาส” เท่านั้น ซึ่งยังต้องพิจารณาปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่น อายุขณะนำไข่มาใช้ คุณภาพของไข่ที่เก็บ และภาวะสุขภาพโดยรวมของฝ่ายหญิง หรือคุณภาพเชื้ออสุจิจากฝ่ายชาย เป็นต้น
4. ฮอร์โมนในร่างกายมีผลต่อการเก็บไข่
ในการเก็บไข่จำเป็นต้องมีการกระตุ้นรังไข่ และต้องใช้ฮอร์โมนสูงในช่วงระยะเวลาอันสั้น บางรายอาจพบอาการไม่พึงประสงค์ เช่น ปวดศีรษะ ท้องอืด หรืออารมณ์แปรปรวน ดังนั้นในการฝากไข่จึงควรเตรียมตัวให้พร้อมทั้งร่างกายและจิตใจก่อนตัดสินใจฝากไข่นั่นเอง
5. การฝากไข่ไม่ใช่แค่เรื่องของผู้หญิงโสด
หลายคนเข้าใจว่าการฝากไข่เหมาะสำหรับผู้หญิงที่ยังไม่มีคู่ แต่ความจริงแล้ว คู่สมรสที่ยังไม่พร้อมมีลูกก็สามารถเลือกเก็บไข่ไว้ก่อน เพื่อวางแผนครอบครัวในเวลาที่เหมาะสมได้เช่นกันนะคะ
6. การฝากไข่เหมาะกับผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาโรคบางประเภท
ในผู้ป่วยบางรายการฝากไข่ล่วงหน้าจะช่วยรักษาความสามารถในการมีลูกไว้ได้ โดยเฉพาะหากพบว่ามีโรคมะเร็งต่าง ๆ เช่น เนื้องอกรังไข่ และมีความจำเป็นต้องรักษา อย่างการทำเคมีบำบัด หรือการผ่าตัดรังไข่ เป็นต้น
ข้อควรพิจารณาก่อนตัดสินใจฝากไข่
1. อายุและเป้าหมายในชีวิต
ช่วงที่แนะนำให้ฝากไข่มากที่สุดคือ 20 – 35 ปี หากวางแผนจะมีลูกช้ากว่านั้น การฝากไข่ไว้ก่อนถือว่าเป็นการวางแผนอนาคตที่เหมาะสมที่สุดแล้ว
2. สุขภาพส่วนตัวและประวัติครอบครัว
สุขภาพก็เป็นปัจจัยหนึ่งในการประเมินความเหมาะสมในการฝากไข่ หากคนในครอบครัวเคยมีประวัติหมดประจำเดือนก่อนวัย หรือโรคพันธุกรรมบางชนิด ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อประเมินความเหมาะสมก่อนฝากไข่โดยเฉพาะค่ะ
3. ความพร้อมทางการเงิน
เนื่องจากการฝากไข่มีค่าใช้จ่ายพอสมควร ผู้ที่กำลังวางแผนจะฝากไข่จึงควรวางแผนงบประมาณไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะค่าแช่แข็งระยะยาวและค่าใช้จ่ายในการใช้ไข่ในอนาคต
4. วางแผนระยะเวลาใช้งานให้ชัดเจน
แม้ว่าการฝากไข่จะสามารถเก็บไข่ในนานเป็นหลายปี แต่ผลความสำเร็จขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย ดังนั้นเมื่อตัดสินใจฝากไข่แล้วจึงควรกำหนดเป้าหมายและระยะเวลาในการใช้ไข่ที่ฝากให้ชัดเจนว่าอยากใช้ไข่เมื่อไหร่ เพื่อผลการรักษาให้ดีที่สุด
5. ศึกษาข้อมูลและเตรียมตัวให้พร้อม
ตั้งแต่การตรวจสุขภาพ การกระตุ้นไข่ การดูดไข่ การแช่แข็ง ไปจนถึงขั้นตอนการใช้งานในอนาคต ควรศึกษาให้ครบถ้วนเพื่อความเข้าใจและความพร้อมที่ดีที่สุด
6. เลือกคลินิกที่เชื่อถือได้
การเลือกคลินิกรักษาภาวะมีบุตรยากควรพิจารณาจากหลายปัจจัยสำคัญ เช่น มีใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย และผ่านการตรวจสอบจากองค์กรวิชาชีพ
นอกจากนี้ ควรมีห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานสากล อย่าง ISO 15189 , ISO 15190 พร้อมด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย และที่สำคัญคือต้องมีทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ ที่มีประสบการณ์การดูแลรักษาและคำนึงถึงความปลอดภัย รวมถึงมีผลงานการรักษาที่น่าเชื่อถือ ทั้งในด้านอัตราความสำเร็จที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และรีวิวจากผู้เข้ารับบริการจริง
ค่าใช้จ่ายในการฝากไข่… ต้องเตรียมงบประมาณเท่าไหร่ ?
ค่าใช้จ่ายโดยรวมจะแบ่งออกเป็นหลายส่วน ได้แก่
- ค่าตรวจสุขภาพเบื้องต้น รวมถึงการตรวจฮอร์โมน AMH, ตรวจเลือด, อัลตราซาวด์
- ค่ายาฮอร์โมนกระตุ้นไข่ โดยจะแตกต่างกันไปตามการประเมินความพร้อมของร่างกายและยาที่ใช้
- ค่าดูดไข่และแช่แข็ง โดยใช้เทคโนโลยี Vitrification พร้อมแพทย์เฉพาะทาง
- ค่าฝากแช่ไข่รายปี โดยจะคิดเป็นรายปี หรือแพ็กเกจแบบ 3 – 5 ปี ขึ้นอยู่กับคลินิก
- ค่าการใช้ไข่ในอนาคต รวมถึงการทำ IVF, เพาะเลี้ยงตัวอ่อน และย้ายตัวอ่อน
ส่วนใหญ่ค่าใช้จ่ายในการฝากไข่โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 120,000 – 200,000 บาท แต่หากรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดจนถึงตั้งครรภ์ อาจอยู่ที่ประมาณ 250,000 – 450,000 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนไข่ที่เก็บและเทคโนโลยีที่ใช้
ในยุคที่อะไรหลาย ๆ อย่างไม่แน่นอน การฝากไข่อาจเป็นทางเลือกที่ช่วยให้คุณวางแผนชีวิตได้ และหากคุณกำลังมองหาคลินิกที่ไว้วางใจได้ Prime Fertility Center คือหนึ่งในตัวเลือกค่ะ เพราะเราคือคลินิกเฉพาะทางที่ให้การรักษาด้านภาวะมีบุตรยาก ที่ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า มีแพทย์เฉพาะทางด้านภาวะมีบุตรยาก พร้อมให้คำปรึกษาตรงไปตรงมา และดูแลทุกขั้นตอนด้วยความเข้าใจ เพื่อให้การฝากไข่ของคุณเป็นประสบการณ์ที่ดีที่สุดค่ะ
—
สนใจเข้ารับการปรึกษาภาวะมีบุตรยาก
ติดต่อ Prime Fertility Center
โทร : 062-648-6688 / 062-648-8866 / 02-029-1418–9
Line : http://line.me/ti/p/~@primefertility
Facebook : https://www.facebook.com/primefertilitycenter
E-mail : info@primefertilitycenter.com