เนื้องอกมดลูก,子宫肌瘤, Myoma uteri

เนื้องอกมดลูกเกิดจากอะไร

80-90 % ของผู้หญิงที่ตรวจพบเนื้องอกจะไม่ใช่เนื้อร้าย สาเหตุจริงๆแล้วยังไม่มีสาเหตุชัดเจนว่าเกิดจากอะไร แต่เชื่อว่ามีการแบ่งตัวมากผิดปกติ กลุ่มเสี่ยงอาจเกิดในผู้หญิงที่มีพันธุกรรมมาก่อน แต่ก็ยังไม่มีผลวิจัยชัดเจนว่าเกิดจากอะไร

 

วิธีการตรวจเนื้องอก
1. ตรวจภายใน ตรวจร่างกายประจำปี ถ้าเนื้องอกมีขนาดมากกว่า 3 ซม. ขึ้นไปอาจสามารถคลำเจอได้
2. อัลตราซาวนด์มดลูก (ทำได้ทั้งทางหน้าท้องและทางช่องคลอด)

อาการเนื้องอกในมดลูก
1. ปัสสาวะถี่ขึ้น ปัสสาวะกระปริบกระปรอย
2. ถ่ายยาก
3. มีเลือดออกผิดปกติ (มามากผิดปกติ)
4. ปวดท้องประจำเดือน หรือปวดที่เนินมากไม่มีประจำเดือนก็ปวดท้องได้

 

วิธีปฏิบัติตัวหากพบเนื้องอกมดลูกก่อนหรือในระหว่างตั้งครรภ์
1. ให้แพทย์ประเมินว่าจะมีผลกระทบต่อบุตรหรือไม่ จำเป็นต้องรักษาหรือไม่
2. รีบฝากครรภ์ ช่วงไตรมาสแรกคุณหมอจะตรวจเนื้องอกมดลูกได้ง่ายมาก เพราะขนาดของมดลูกยังไม่ได้ใหญ่มาก รวมทั้งยังสามารถบันทึกขนาดตำแหน่งเอาไว้ใช้ในการตรวจติดตามต่อไปได้ง่ายด้วย
3. สังเกตุอาการที่เกี่ยวข้องกับเนื้องอกมดลูก เช่น อาการปวดท้อง ถ้าปวดมากควรรีบพบแพทย์เพื่อรับยาแก้ปวด อย่าซื้อยาแก้ปวดรับประทานเอง อาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ นอกจากนี้หากมีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
4. หลีกเลี่ยงกิจกรรมหนักๆ ที่อาจกระตุ้นให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด เช่นการทำงานหนัก หรือการมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างที่มีอาการปวดท้อง เพื่อลดความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด
5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นโปรตีน ผักผลไม้ เพื่อควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์ ในระหว่างตั้งครรภ์ มิเช่นนั้นทารกในครรภ์ตัวใหญ่เกินไป จะเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดมากขึ้นหรือทำให้คลอดยากมากยิ่งขึ้น
6. พบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะ เพื่อดูขนาดเนื้องอก ติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

เนื้องอกมดลูกอาจทำให้เกอดความเสี่ยงระหว่างตั้งครรภ์
1. เสี่ยงต่อภาวะมีบุตรยากหรือจากการที่เนื้องอกโตขึ้นอาจเบียดเข้าไปในโพรงมดลูกทำให้ตัวอ่อนไม่ฝังตัว หรือรบกวนการฝังตัวของตัวอ่อน บางรายอาจมีการแท้งซ้ำบ่อยๆ เกิดขึ้นได้เพราะเนื้องอกขนาดใหญ่ขึ้น
2. อาการปวดมดลูกจากการที่เนื้องอกขยายขนาดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ของผู้ป่วยที่มีเนื้องอก
3. ความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด จากที่มีเนื้องอกทำให้กล้ามเนื้อมดลูกไม่สามารถยืดหยุ่น ขนาดตามอายุครรภ์ได้
4. ความเสี่ยงในการเกิดทารกโตช้าในครรภ์ อันเนื่องมาจากรกที่เกาะตรงตำแหน่งที่มีเนื้องอกอยู่พอดี ทำให้การส่งเลือด อาหาร อากาศ ผ่านรกและสายสะดือได้รับผลกระทบเป็นผลให้ทารกมีการเจริญเติบโตผิดปกติ
5. เสี่ยงต่อการมีเลือดออกตลอดการตั้งครรภ์หรือภาวะแท้งคุกคาม
6. ความเสี่ยงที่ทารกจะอยู่ในท่าขวาง ก้อนเนื้องอกเบียดหรือขวางช่องคลอด ทำให้คลอดทางช่องคลอดปกติไม่ได้หรือคลอดยาก
7. ความเสี่ยงในการตกเลือดหลังคลอด จากการที่มีเนื้องอกทำให้กล้ามเนื้อมดลูกหดตัวหลังคลอดได้ไม่ดี

ทั้งนี้ สาวๆ ควรตรวจสุขภาพ หมั่นเช็คความผิดปกติของร่างกายตัวเองเป็นประจำ และปรึกษาสูติ-นรีแพทย์หากพบอาการผิดปกตินะคะ

 

Reference: Prime Fertility Center Co., Ltd.
https://www.primefertilitycenter.com/เนื้องอกมดลูกเกิดจากอะ

Related Posts

02

พ.ย.
ข่าวสาร สาระน่ารู้

ย้ายตัวอ่อนทำเด็กหลอดแก้ว เด็กที่เกิดมายังมีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่?

ย้ายตัวอ่อนทำเด็กหลอดแก้ว เด็กที่เกิดมายังมีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่? ในกระบวนการของกา[…]