ภาวะโปรแลคตินสูงส่งผลต่อการมีบุตรอย่างไร?

ภาวะโปรแลคตินสูงส่งผลต่อการมีบุตรอย่างไร?

 

ภาวะโปรแลคตินสูงส่งผลต่อการมีบุตรอย่างไร

ภาวะโปรแลคตินสูง คือ ภาวะที่พบความผิดปกติของระดับโปรแลคตินในเลือด มีค่าสูงกว่าปกติ (ค่าปกติน้อยกว่า 25 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร) หรืออาจเกิดจากการใช้ยาบางชนิด โดยเฉพาะยารักษาโรคทางจิตเวช ทำให้ฮอร์โมนโปรแลคตินสูงขึ้น

ปกติแล้วเมื่อผู้หญิงตั้งครรภ์ ระดับโปรแลคตินจะสูงขึ้น และเมื่อคลอดแล้วระดับโปรแลคตินที่สูงมากๆ นั้น จะช่วยกระตุ้นต่อมน้ำนมให้ผลิตน้ำนมเพื่อเลี้ยงทารกนั่นเอง

นอกจากนั้นฮอร์โมนโปรแลคตินจะช่วยควบคุมการมีประจำเดือนของผู้หญิง ในรายที่มีความผิดปกติจะทำให้มีปัญหาในการตั้งครรภ์ มีน้ำนมไหลถึงแม้จะไม่ได้ท้อง มีการตกไข่ผิดปกติ หรือไม่เกิดการตกไข่ ประจำเดือนไม่มา จนนำไปสู่ภาวะมีบุตรยาก

ในผู้ชายก็สามารถเกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน หากระดับโปรแลคตินสูง สามารถทำให้มีน้ำนมไหลออกจากหัวนม อวัยวะไม่แข็งตัว ความต้องการทางเพศลดลง ผลิตอสุจิได้น้อยหรือไม่สามารถผลิตอสุจิได้ และส่งผลให้มีบุตรยากได้เช่นกัน

ซึ่งหากมีภาวะโปรแลคตินสูงนั้น แนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อเช็กระดับโปรแลคตินในเลือดว่ามีสูงมากน้อยเพียงใด เพื่อหาแนวทางการรักษาได้ถูกวิธีนั่นเองค่ะ

Prime Fertility Center ไม่ได้เพียงแค่ให้การรักษาภาวะมีบุตรยาก มีบุตรยาก มีลูกยากเพียงเท่านั้น สิ่งที่ Prime Fertility Center มุ่งหวัง และมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง คือการให้บริการลูกค้าด้วยความใส่ใจ พร้อมให้คำปรึกษา ดูแล และใส่ใจทุกความรู้สึกของคุณ เหมือนกับเป็นคนในครอบครัว เพราะเราเข้าใจถึงความรู้สึก ความกดดัน ความเครียดของผู้เข้ารับบริการที่ไม่สามารถมีบุตรได้สำเร็จเป็นอย่างดี ทางคลินิกจึงมีความตั้งใจที่จะมอบความอบอุ่น และอำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้ารับบริการอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยความมุ่งมั่นและความใส่ใจจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นักเพาะเลี้ยงตัวอ่อน และทีมงานมากประสบการณ์ในการดูแลและให้คำปรึกษาแบบครบวงจร

 

สนใจเข้ารับการปรึกษาภาวะมีบุตรยาก
ติดต่อ Prime Fertility Center
โทร : 062-648-6688 / 062-648-8866 / 02-029-1418–9
Line : http://line.me/ti/p/~@primefertility
Facebook : https://www.facebook.com/primefertilitycenter
E-mail : [email protected]

เวลาทำการ
วันจันทร์ – วันพุธ , วันศุกร์และวันเสาร์
เวลา 08.00 – 16:00 น.
หยุดวันพฤหัสบดี วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

 

Related Posts

02

พ.ย.
ข่าวสาร สาระน่ารู้

ย้ายตัวอ่อนทำเด็กหลอดแก้ว เด็กที่เกิดมายังมีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่?

ย้ายตัวอ่อนทำเด็กหลอดแก้ว เด็กที่เกิดมายังมีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่? ในกระบวนการของกา[…]