ฟื้นฟูรังไข่ด้วย PRP

ฟื้นฟูรังไข่ด้วย PRP

 

การทำ PRP (PLATELET  RICH  PLASMA) คือ การนำเลือดของตัวเองมาเข้าสู่กระบวนการปั่นเพื่อให้เกิดการแยกชั้นของพลาสมา(Plasma) ซึ่งมีลักษณะเป็นน้ำสีเหลืองใสออกมา โดยในพลาสม่านั้นประกอบไปด้วยเกล็ดเลือดที่มีปริมาณสูงจึงทำให้มีปริมาณของ growth factor และ cytokines หลายชนิด เช่น Transforming Growth Factor (TGF), Vascular Endothelial Growth Factor (VEGF), Platelet-derived Growth Factor (PDGF) และ Epidermal Growth Factor (EGF) เป็นต้น โดยสารต่างๆเหล่านี้มีบทบาทสำคัญต่อการซ่อมแซมและฟื้นฟูสภาพเซลล์ของร่างกาย

PRP เหมาะกับใคร

  1. กลุ่มวัยหมดประจำเดือนที่รังไข่หยุดทำงานตามธรรมชาติ
  2. กลุ่มวัยใกล้หมดประจำเดือน
  3. คนที่รังไข่เสื่อมก่อนวัยอันควรหรือความสามารถในการทำงานของรังไข่ไม่ดี
  4. ในรายที่เคยรักษาด้วยการทำเด็กหลอดแก้วและพบว่าการตอบสนองต่อการรักษาน้อยกว่าเกณฑ์ที่ควรจะเป็น เช่น มีประวัติไข่น้อย (เก็บไข่ได้น้อยกว่า 3ใบ)

ขั้นตอนการฉีด PRP ที่รังไข่

  1. เจาะเลือดจากแขนของตนเองใส่ในหลอดแบบพิเศษ ปริมาณ 10-60 มิลลิลิตร
  2. เข้าสู่กระบวนการเตรียมโดยการปั่นแบบหมุนเหวี่ยงเพื่อสกัดเกล็ดเลือดเข้มข้นออกมา ให้ได้ปริมาณ 2-4 มิลลิลิตร
  3. นำ PRP ที่เตรียมได้ฉีดด้วยเข็มแบบพิเศษเข้าไปในรังไข่ทั้ง 2 ข้าง ผ่านทางช่องคลอดโดยมีการอัลตราซาวด์ประเมินตำแหน่งของรังไข่ (วิธีการเช่นเดียวกันกับการเจาะเก็บไข่เพื่อทำเด็กหลอดแก้ว) โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  4. หลังฉีดเสร็จ ควรพักประมาณ 1 ชั่วโมง จึงสามารถกลับบ้านได้

ผลข้างเคียงหรือความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น

  1. อาจจะมีอาการปวดเล็กน้อย และเลือดออกเล็กน้อยหลังจากการฉีด ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายไปเองภายใน 1 วัน
  2. เลือดออกในช่องท้องจากการเจาะรังไข่หลายครั้งเพื่อฉีด PRP
  3. การติดเชื้อในรังไข่ ทำให้รังไข่เป็นหนอง และอาจทำให้สูญเสียรังไข่ถาวร
  4. อาจแทงโดยอวัยวะข้างเคียงได้ เช่น เส้นเลือดดำ/แดงใหญ่ ลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ
  5. ถ้าไม่ใช้เลือดของเราเอง อาจมีโอกาสในการติดเชื้อที่มาจากสาเหตุทางเลือดได้ เช่น โรคเอดส์ ไวรัสตับอักเสบบี,ซี
  6. ภาวะแทรกซ้อนจากการดมยาสลบ

การติดตามผล

หลังจากฉีด PRP ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ตรวจประสิทธิภาพการทำงานของรังไข่ด้วยการเจาะเลือดเพื่อวัดระดับฮอร์โมน AMH ที่บ่งบอกถึงทุนสำรองของรังไข่, ฮอร์โมน FSH และ Estradiol รวมทั้งปริมาณไข่ควรจะเพิ่มขึ้น และในรอบการรักษาถัดไป จำนวนไข่ที่สามารถเก็บได้ก็ควรมากขึ้น ทั้งนี้ประสิทธิผลของการฉีด PRP จะคงอยู่ไปประมาณ 2-3 เดือนหลังการฉีด

อย่างไรก็ดีการศึกษาเรื่อง PRP ในรังไข่ยังมีน้อย การรักษาด้วยวิธีนี้ยังไม่ได้เป็นมาตรฐานในระดับสากล และผลลัพธ์ที่ได้ยังไม่ชัดเจนในเรื่องการเพิ่มจำนวนไข่ แต่ก็เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหารุนแรงเหล่านั้น

Reference: Prime Fertility Center Co., Ltd.

สนใจบริการ ทำเด็กหลอดแก้ว ฉีดเชื้อผสมเทียม ฝากไข่ ตรวจสุขภาพ คลิกที่นี่

ICSI การทำอิ๊กซี่ การทำอิ๊กซี่ หรือ Intracytoplasmic sperminjection (ICSI) เป็นการปฏิสนธินอกร่างกายที่ใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยในห้องปฏิบัติการ ซึ่งขั้นตอนคล้ายกับการทำเด็กหลอดแก้วหรือ IVF แต่การทำอิ๊กซี่จะมีความแตกต่างคือ อิ๊กซี่เป็นการนำเอาอสุจิที่ผ่านการคัดเลือกที่ดีที่สุดหนึ่งตัวผสมต่อไข่ที่อยู่ในระยะที่เหมาะสมในการปฏิสนธิหนึ่งใบ โดยการใส่อสุจิเข้าไปในเนื้อไข่โดยตรง กระบวนการนี้จะต้องมีการกระตุ้นไข่ด้วยยาฮอร์โมนเพื่อให้ได้ไข่จำนวนหลายใบ และยังให้ผลการปฏิสนธิเป็นที่น่าพึงพอใจ ช่วยลดปัญหาการปฏิสนธิหรือการปฏิสนธิแบบผิดปกติอันเนื่องมาจากไข่และอสุจิ เช่น การเกิดการผสมด้วยอสุจิหลายตัว, อสุจิไม่สามารถเจาะผ่านเปลือกไข่เพื่อเข้ามาปฏิสนธิได้ เป็นต้น หลังจากนั้นตัวอ่อนจะถูกนำไปเพาะเลี้ยงในภาวะที่เหมาะสมในห้องปฏิบัติการตัวอ่อน แล้วจึงนำตัวอ่อนฉีดกลับเข้าสู่โพรงมดลูกเพื่อให้ตัวอ่อนฝังตัวที่มดลูกและเจริญเติบโตเป็นทารกต่อไป

คู่สมรสที่ควรรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธีการทำ ICSI
1. ฝ่ายหญิงมีอายุค่อนข้างมาก (มากกว่า 35 ปี)
2. ฝ่ายหญิงมีภาวะท่อนำไข่ตีบตันทั้งสองข้าง
3. ฝ่ายหญิงมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ค่อนข้างรุนแรง
4. ฝ่ายหญิงมีการทำงานของฮอร์โมนรังไข่ผิดปกติ เช่น ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง หรือโรคถุงน้ำรังไข่ (PCOS)
5. ฝ่ายชายมีอสุจิผิดปกติรุนแรง ทั้งทางด้านรูปร่าง ความสามารถในการเคลื่อนที่ รวมถึงจำนวนของอสุจิด้วย
6. ฝ่ายชายที่เป็นหมันหรือทำหมัน แต่ยังคงมีการสร้างอสุจิและสามารถนำอสุจิออกมาได้จาก วิธีการผ่าตัด เช่น การทำ PESA, TESA, TESE เป็นต้น
7. คู่สามีภรรยาที่เคยไม่ประสบความสำเร็จในการปฏิสนธินอกร่างกายด้วยวิธี IVF
8. คู่สามีภรรยาที่ต้องการตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมด้วยของตัวอ่อน

FET การย้ายตัวอ่อนแช่แข็ง
การย้ายตัวอ่อนแช่แข็ง หรือ FET (FROZEN EMBRYO TRANSFER) คือการนำเอาตัวอ่อนที่ถูกแช่แข็งไว้มาผ่านกระบวนการละลาย (THAWING) และย้ายเข้าสู่โพรงมดลูก ซึ่งในกรณีนี้คนไข้สามารถเลือกช่วงเวลาที่ตนเองสะดวกได้ เช่น 1-2 เดือนหลังจากกระบวนการปฏิสนธิ การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็งในสตรีที่มีอายุมากกว่า 35 ปีจะให้ผลดีกว่าการย้ายตัวอ่อนในรอบสด

เนื่องจากในกรณีที่ฝ่ายหญิงกระตุ้นไข่ได้หลายใบจะทำให้มีฮอร์โมนผลิตออกมาจากรังไข่ปริมาณมาก ซึ่งฮอร์โมนนี้จะส่งผลทำให้คุณภาพของเยื่อบุโพรงมดลูกด้อยลง และทำให้โอกาสการฝังตัวของตัวอ่อนลดลงแม้ตัวอ่อนจะมีคุณภาพดีก็ตาม ดังนั้นการใส่ตัวอ่อนตามหลังการเก็บไข่เลยอาจไม่เหมาะสมนักในกรณีนี้

นอกจากนั้นผลการศึกษาจากหลายสถาบันก็มีแนวโน้มว่าการใส่ตัวอ่อนในรอบแช่แข็งและละลายจะให้โอกาสการตั้งครรภ์ที่สูงกว่าใส่หลังเก็บไข่เลย ด้วยเรื่องของคุณภาพเยื่อบุโพรงมดลูกที่พร้อมมากกว่าดังนั้นการเลือกย้ายตัวอ่อนในรอบใดนั้นแพทย์จะพิจารณาให้เหมาะสมกับคู่สมรสเป็นราย ๆ ไป

ทำ ICSI ราคา มีบุตรยาก แพทย์ผู้เชี่ยวชาญมีบุตรยาก ทำ ICSI 2566 ราคา

Related Posts

17

ธ.ค.
ข่าวสาร สาระน่ารู้

พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์!!

พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์!! สำหรับการนอนนี่เป็นเรื่องหลักในการมีลู […]