ตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน เพิ่มความสำเร็จในการตั้งครรภ์อย่างไร?
Meta Title : ตรวจโครโมโซมตัวอ่อนคืออะไร? มีกี่แบบ? เหมาะกับใครบ้าง?
Meta Description : ทำเด็กหลอดแก้วต้องรู้!! ตรวจโครโมโซมตัวอ่อนตัวช่วยเพิ่มอัตราการมีลูกคืออะไร? มีกี่แบบ? ดีอย่างไร? อธิบายครบแบบละเอียด
___________________________________________________________________________________________________
ปัจจุบันมีคู่รักหลายคู่ที่ต้องเจอกับปัญหามีลูกยาก หลายคนก็เลยต้องหันมาพึ่งเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการมีบุตร เช่น การฝากไข่, การฉีดเชื้อผสมเทียม (IUI) และการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF/ICSI) ซึ่งการทำเด็กหลอดแก้วก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากคู่รักที่มีปัญหาในการตั้งครรภ์
โดยการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน เป็นกระบวนการสำคัญที่ผู้ทำเด็กหลอดแก้วควรทำ เพราะจะช่วยตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน และช่วยคัดเลือกตัวอ่อนที่สมบูรณ์ มีคุณภาพ เหมาะกับการนำไปใช้ในการทำเด็กหลอดแก้วเพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการตั้งครรภ์ด้วย
เพื่อให้ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านคลายความสงสัยเกี่ยวกับการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน HDmall.co.th ร่วมกับ Prime Fertility Center รวมทุกรายละเอียดเกี่ยวกับการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนมาไว้ในบทความนี้ ตั้งแต่ความหมายของการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน รูปแบบการตรวจคัดกรอง ข้อดี และรายละเอียดอื่นๆ ที่ต้องรู้เพิ่มเติม เพื่อช่วยให้ทุกคนที่กำลังสนใจอยากตรวจโครโมโซมตัวอ่อนได้ทำความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
โครโมโซมคืออะไร?
โครโมโซม เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีลักษณะเป็นท่อนๆ ประกอบไปด้วย DNA เชื่อมกับโปรตีน ทำหน้าที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม รวมถึงควบคุมการทำงานของเซลล์และการแบ่งเซลล์ มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรม
โครโมโซมแต่ละอันมีหลายพันยีน ซึ่งเป็นส่วนเฉพาะของ DNA โดยยีนจะเป็นตัวกำหนดลักษณะเฉพาะ เช่น สีตา ความสูง และความไวต่อความผิดปกติทางพันธุกรรมบางอย่าง ซึ่งในระหว่างการสืบพันธุ์ โครโมโซมจะทำซ้ำตัวเองและแต่ละสำเนาจะถูกกระจายไปยังเซลล์ของบุตร
โครโมโซมตัวอ่อนผิดปกติส่งผลอย่างไรบ้าง?
โครโมโซมตัวอ่อนผิดปกติมักเกิดจากโรคทางพันธุกรรมที่ส่งต่อมาจากพ่อแม่ รวมถึงการเกิดปัญหาจากการแบ่งตัวไม่สมบูรณ์ และโครโมโซมกลายพันธุ์ ซึ่งการมีโครโมโซมตัวอ่อนที่ผิดปกติจะส่งผลเสียดังนี้
- มีพัฒนาการที่ผิดปกติ เช่น ความผิดปกติทางกายภาพ ความบกพร่องทางสติปัญญาหรือความล่าช้าในการเจริญเติบโต
- การแท้งบุตร ในหลายกรณีที่ตัวอ่อนมีโครโมโซมผิดปกติอย่างรุนแรงอาจไม่เจริญเติบโต่ต่อในระยะแรกของการพัฒนา ซึ่งส่งผลให้แท้งบุตรได้
- ความเสี่ยงทางพันธุกรรม ความผิดปกติของโครโมโซมบางอย่าง เช่น โครโมโซมคู่ที่ 13, 18 และ 21 มีความสัมพันธ์กับสภาวะทางพันธุกรรม โดยภาวะเหล่านี้อาจมีผลกระทบด้านบกพร่องทางร่างกายและการรับรู้
การตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน คืออะไร?
การตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน เป็นการตรวจสอบทางพันธุกรรมที่ทำในขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว เป็นการตรวจวิเคราะห์หาความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน และคัดเลือกหาตัวอ่อนที่มีองค์ประกอบโครโมโซมครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนที่จะย้ายไปฝังในโพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์
การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้สำเร็จและลดความเสี่ยงของความผิดปกติทางพันธุกรรมบางอย่างได้
ขั้นตอนการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน
สำหรับกระบวนการในการตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน มีดังนี้
- แพทย์จะนัดหมายให้ฝ่ายหญิงที่มีประจำเดือนประมาณวันที่สองเข้ามาตรวจเลือด อัลตราซาวด์ และฉีดยากระตุ้นไข่ประมาณ 8-10 วัน
- เมื่อไข่โตจนสมบูรณ์แล้ว แพทย์จะเก็บไข่ออกมาจากรังไข่เพื่อนำไปผสมกับอสุจิในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
- ในระหว่างรอการผสม จะมีการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนไว้เป็นระยะเวลา 5-6 วันจนกว่าจะถึงระยะบลาสโตซิสต์ ซึ่งมีเซลล์ของตัวอ่อนประมาณ 100 เซลล์ และถือเป็นระยะที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน
- เซลล์ของตัวอ่อนจำนวนหนึ่งจะถูกดูดออกมาอย่างระมัดระวัง เป็นเซลล์ที่จะถูกพัฒนาไปเป็นรก หรือที่เรียกว่า trophectoderm เพื่อนำมาตรวจวิเคราะห์ดัวยเทคนิคต่างๆ เช่น Next-Generation Sequencing (NGS) หรือ Preimplantation Genetic Testing (PGT) ซึ่งเทคนิคเหล่านี้จะทำให้ทราบความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนที่เกิดจากความผิดปกติของจำนวนโครโมโซม และยีนที่เฉพาะเจาะจงกับโรคบางอย่างได้
- หากโครโมโซมทั้ง 23 คู่ปกติดีก็จะใส่ตัวอ่อนตัวนั้นเข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อให้เติบโตเป็นทารกในครรภ์มารดาต่อไป
การตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน มีกี่แบบ?
การตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน มีทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่
1. Preimplantation Genetic Testing for Aneuploidy (PGT-A)
การตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน แบบ PGT-A คือ การตรวจคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมตัวอ่อนก่อนการฝังตัว ซึ่งจะตรวจคัดกรองความผิดปกติด้านจำนวนของโครโมโซมตัวอ่อนว่ามีจำนวนเกินหรือขาดไม่ครบ 23 คู่หรือเปล่า
โดยวิธีนี้เป็นวิธีที่นิยม เพราะประเมินความสมบูรณ์ของโครโมโซมและช่วยบอกความผิดปกติของจำนวนโครโมโซมได้ ซึ่งจะมีการดึงเซลล์เพียงเล็กน้อยที่จะเจริญไปเป็นรกของตัวอ่อนและวิเคราะห์โครโมโซมโดยใช้เทคนิคทางพันธุกรรมขั้นสูง ช่วยในการเลือกตัวอ่อนที่สมบูรณ์ที่สุดสำหรับการย้ายไปฝังตัวในโพรงมดลูกต่อไป
2. Preimplantation Genetic Testing for Monogenic Disorders (PGT-M)
สำหรับการตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อนแบบ PGT-M เป็นการตรวจวินิจฉัยการกลายพันธุ์ของยีนเดี่ยวในตัวอ่อนก่อนการฝังตัว เหมาะสำหรับคู่รักที่มีความเสี่ยงถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของยีนเดี่ยว เช่น โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย, โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Duchenne muscular dystrophy), โรคถุงน้ำในปอด (Cystic Fibrosis), โรคระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น และสำหรับคู่สมรสที่มีบุตรคนก่อนที่รักษาได้ด้วยการตรวจ HLA matching เทคนิคนี้ช่วยให้สามารถเลือกตัวอ่อนที่ไม่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมแบบเจาะจง ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการส่งต่อความผิดปกติไปยังรุ่นต่อ ๆ ไปได้
3. Preimplantation Genetic Testing for Chromosome Structural Rearrangement (PGT-SR)
การตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อนแบบ (PGT-SR) เป็นการตรวจคัดกรองการสับเปลี่ยนตำแหน่งโครงสร้างโครโมโซม ในกรณีที่สามีหรือภรรยามีความผิดปกติของโครโมโซมที่เกิดจากการสลับส่วนของโครโมโซม โดยไม่มีการเพิ่มหรือลดสารพันธุกรรม ซึ่งเรียกว่ามีสถานะแบบสมดุล
การจัดเรียงใหม่นี้สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการแท้งบุตรหรือความผิดปกติของโครโมโซมในลูกหลานได้ การเลือกตัวอ่อนที่สมดุลหรือปกติจะเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้สำเร็จและลดความเสี่ยงในการถ่ายทอดความผิดปกติของโครโมโซม
ข้อดีของการตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน
ลดความเสี่ยงในการแท้งบุตร
การตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อนช่วยให้สามารถระบุตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติได้ ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้สำเร็จและมีพัฒนาการที่ดี และยังช่วยลดความเสี่ยงของการแท้งบุตรได้
การป้องกันความผิดปกติทางพันธุกรรม
ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของการตรวจคัดกรองโครโมโซมของตัวอ่อนคือ มีความสามารถในการตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรมก่อนการนำไปฝังตัว โดยเทคนิคการตรวจคัดกรองนี้ระบุความผิดปกติของโครโมโซมที่เกี่ยวข้องกับสภาวะต่าง ๆ เช่น ดาวน์ซินโดรม เทิร์นเนอร์ซินโดรม และโรคทางพันธุกรรมอื่นๆ
การเลือกตัวอ่อนที่ไม่มีความผิดปกติจะลดความเสี่ยงในการถ่ายทอดความผิดปกติทางพันธุกรรมไปยังบุตรหลานได้อย่างมาก
เพิ่มอัตราตั้งครรภ์ได้สำเร็จ
การตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อนช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้สำเร็จ โดยเฉพาะคู่รักที่เคยประสบความล้มเหลวหลายครั้งหรือการแท้งซ้ำซาก
ลดความจำเป็นในการย้ายตัวอ่อนหลายตัว
การตรวจคัดกรองโครโมโซมของตัวอ่อนช่วยให้ระบุตัวอ่อนที่มีความสมบูรณ์ได้มากที่สุด ช่วยลดความจำเป็นในการย้ายตัวอ่อนหลายตัวในระหว่างการทำเด็กหลอดแล้ว (IVF/ICSI)
แพทย์สามารถย้ายตัวอ่อนตัวเดียวได้อย่างมั่นใจ เพราะเลือกตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติเอาไว้แล้ว และช่วยลดความเสี่ยงของการตั้งครรภ์แฝดและภาวะแทรกซ้อน ทำให้การตั้งครรภ์ปลอดภัยและลดความเสี่ยงต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นสำหรับทั้งแม่และทารก
ช่วยในการตัดสินใจดำเนินการต่อหรือยุติการตั้งครรภ์
การตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน ทำให้ทราบความผิดปกติของโครโมโซมและเห็นถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ทำให้ตัดสินใจได้ว่าจะดำเนินการตั้งครรภ์ต่อหรือยุติการตั้งครรภ์เอาไว้
การตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน เพิ่มความสำเร็จในการตั้งครรภ์อย่างไร?
การตรวจคัดกรองโครโมโซมของตัวอ่อนเป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบโครโมโซมก่อนการฝังในโพรงมดลูกของมารดา
วิธีนี้จะช่วยระบุความผิดปกติของโครโมโซมที่เป็นสาเหตุหลักของความล้มเหลวในการย้ายตัวอ่อน การแท้งบุตร โดยเลือกเฉพาะตัวอ่อนที่มีจำนวนโครโมโซมที่ถูกต้องไปฝังในโพรงมดลูกแทน และเมื่อตัวอ่อนมีโครโมโซมปกติ โอกาสในการฝังตัว การตั้งครรภ์ที่ประสบความสำเร็จ และการคลอดบุตรที่มีสุขภาพแข็งแรงจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก รวมทั้งช่วยลดความเสี่ยงของความผิดปกติทางพันธุกรรมได้ด้วย
การนำเซลล์ของตัวอ่อนออกมาตรวจส่งผลเสียต่อตัวอ่อนหรือไม่
การนำเซลล์ของตัวอ่อนออกมาตรวจนั้นไม่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาตัวอ่อน เพราะเซลล์ตัวอ่อนมีจำนวนมากกว่า 100 เซลล์ และมีพัฒนาแยกระหว่างเซลล์ของตัวอ่อนกับเซลล์ที่จะพัฒนาเป็นรก
แต่ถ้านำเซลล์ที่จะพัฒนาเป็นรกออกมามากเกินไป อาจส่งผลต่อการนำอาหารและออกซิเจนให้กับตัวอ่อน เพราะรกจะพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ ดังนั้นการดึงเซลล์ของตัวอ่อนเพื่อนำไปตรวจโครโมโซมนั้น ควรทำโดยนักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนที่มีความเชี่ยวชาญ
ใครบ้างที่ควรตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน
1. คู่รักที่มีประวัติการแท้งซ้ำซาก
ผู้ที่ควรตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อนเป็นอย่างมาก คือ คู่รักที่เคยประสบกับปัญหาตัวอ่อนไม่เจริญเติบโตต่อจนทำให้เกิดภาวะแท้งซ้ำซาก เพราะความผิดปกติของโครโมโซมในตัวอ่อนเป็นสาเหตุของการแท้งบุตร ถ้าตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน จะทำให้ได้ตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติ ซึ่งจะเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์
2. ผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป
ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงที่โครโมโซมในตัวอ่อนจะเกิดความผิดปกติมากขึ้น โดยเฉพาะภาวะดาวน์ซินโดรม การตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อนสามารถช่วยตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรม เพื่อให้ได้ตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติ ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้สำเร็จและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับทารกได้
3. คู่รักที่มีประวัติโครโมโซมผิดปกติ
หากคู่รักคนใดคนหนึ่งหรือทั้งคู่มีโครโมโซมผิดปกติ ควรตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน เพราะการตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อนจะช่วยระบุตัวอ่อนที่ไม่มีความผิดปกติของโครโมโซมจำเพาะได้ ซึ่งช่วยลดโอกาสในการถ่ายทอดความผิดปกติไปยังลูกได้อย่างมาก
4. ผู้ที่ไม่ตั้งครรภ์จากการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF / ICSI) 2 ครั้งขึ้นไป
คู่รักที่เข้ารับการทำเด็กหลอดแก้วไม่สำเร็จ 2 ครั้งขึ้นไป สามารถพิจารณาการตรวจคัดกรองโครโมโซมของตัวอ่อนเพิ่มเติม เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้สำเร็จ
ตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน ที่ไหนดี?
สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน แนะนำให้เลือกสถานที่ในการตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อนที่ได้มาตรฐาน มีแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ที่มีประสบการณ์ ใช้เครื่องมือคุณภาพสูง รวมถึงมีการให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล เพราะมีผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์อย่างมาก
Prime Fertility Center เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน คลินิกของเราเป็นคลินิกเฉพาะทางที่ให้การรักษาด้านภาวะมีบุตรยากที่ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั่วประเทศ เลือกใช้เทคโนโลยีรักษาภาวะมีบุตรยากที่มีความทันสมัย
Prime Fertility Center ผ่านการรับรองคุณภาพในมาตรฐานระดับสากลอย่าง JCI (Joint Commission International) ของประเทศสหรัฐอเมริกา และผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO 15189 และ ISO 15190 ซึ่งเป็นมาตรฐานด้านการรับรองความสามารถและความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ในระดับสากล
นอกจากนี้ยังมีทีมผู้เชี่ยวชาญ นักเพาะเลี้ยงตัวอ่อน และทีมงานมากประสบการณ์ในการดูแลและให้คำปรึกษาแบบครบวงจร สามารถมั่นใจได้เลยว่าการรักษาจะตอบโจทย์และเห็นผลดังที่คาดหวังไว้
—
ที่มา :
- ACOG, Preimplantation Genetic Testing (https://www.acog.org/clinical/clinical-guidance/committee-opinion/articles/2020/03/preimplantation-genetic-testing), 11 February 2024
- National Library of Medicine, Preimplantation Genetic Testing: Its Evolution, Where Are We Today? (https://shorturl.asia/BMebh), 11 February 2024
- Bumrungrad Hospital, ใครบ้างที่ควรจะต้องตรวจโครโมโซมของตัวอ่อน(https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/august-2023/who-should-undergo-embryo-chromosome-testing), 11 กุมภาพันธ์ 2567
- Piyavate Hospitapl, การคัดกรองโครโมโซมในตัวอ่อนคืออะไร (https://shorturl.asia/9bfv7), 11 กุมภาพันธ์ 2567
—
หากสนใจอยากตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน สามารถติดต่อนัดหมายได้ที่ช่องทางต่อไปนี้
สนใจเข้ารับการปรึกษาภาวะมีบุตรยาก
ติดต่อ Prime Fertility Center
โทร : 062-648-6688 / 062-648-8866 / 02-029-1418–9
Line : http://line.me/ti/p/~@primefertility
Facebook : https://www.facebook.com/primefertilitycenter
E-mail : [email protected]
เวลาทำการ
วันจันทร์ – วันพุธ , วันศุกร์และวันเสาร์
เวลา 08.00 – 16:00 น.
หยุดวันพฤหัสบดี วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์