ท้องแฝด, มีบุตรยาก, ตั้งครรภ์แฝด, twin

ความเสี่ยงในการตั้งครรภ์แฝด

ทารก

  • เกิดความผิดปกติทางโครงสร้างร่างกายทารกพัฒนาไปอย่างไม่ปกติจากการเบียด กดทับกัน ทำให้เกิดโรคพิการแต่กำเนิด
  • ภาวะทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า (IUGR)
  • ทารกมีการถ่ายเทเลือดให้กัน ในครรภ์แฝดแท้นั้นมีความเป็นไปได้ที่หลอดเลือดในรกจะเชื่อมระบบไหลเวียนโลหิตของทารกเข้าด้วยกัน ทำให้ทารกคนหนึ่งเสียเลือดจนตัวเล็กลงและเกิดภาวะโลหิตจาง ในขณะที่อีกคนที่ได้รับเลือดมากเกินอาจเกิดหัวใจวายได้
  • ทารกเสียชีวิตในครรภ์
  • ทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหลังจากคลอดหรือเกิดโรคระยะยาว เช่นโรคปอดเรื้อรัง กระจกตาเสื่อม
  • สายสะดือรกพันกัน พบได้ไม่บ่อยและส่วนใหญ่จะเกิดกับทารกแฝดที่อยู่ในถุงตั้งครรภ์เดียวกัน
  • ภาวะแทรกซ้อนบางอย่างอาจไม่ได้เกิดขึ้นขณะอยู่ในครรภ์หรือเห็นได้ทันทีเมื่อหลังคลอด แต่ไปปรากฏในภายหลัง เช่น ปัญหาด้านการพูดและสื่อสาร การพัฒนาทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก

 แม่

  • มีอาการแพ้ท้อง เหนื่อย เพลียมากกว่าการตั้งครรภ์ปกติ
  • มีโอกาสแท้งบุตรมากขึ้น
  • มารดาจะมีภาวะขาดธาตุเหล็ก ขาดสารอาหารมากขึ้น เนื่องจากทารกมีการนำสารอาหารในร่างกายไปใช้มากกว่าปกติ
  • มีโอกาสเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษมากกว่าปกติ
  • มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์เพิ่มมากขึ้น
  • คลอดก่อนกำหนด
  • น้ำหนักตัวของทารกในครรภ์น้อยกว่าปกติ
  • ภาวะรกเกาะต่ำ มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดมากขึ้น
  • โอกาสผ่าตัดคลอดบุตรมากขึ้น จากท่าหรือส่วนนำของทารกที่ไม่ปกติ
  • ทารกเจริญเติบโตไม่เท่ากัน มีการแย่งอาหารกัน
  • สายสะดือพันกัน ทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์
  • ภาวะตกเลือดหลังคลอดมากขึ้น เนื่องจากตอนตั้งครรภ์มีการขยายตัวของมดลูกมากกว่าปกติ ทำให้หลังคลอดมดลูกหดตัวได้ไม่ดี
  • ปวดเมื่อยหลัง / เอว / เข่า
  • ริดสีดวงทวารหนัก
  • ผิวแตกมาก
  • มีน้ำหนักเกินมากต่อเนื่องหลังคลอด

Reference: Prime Fertility Center Co., Ltd.
https://www.primefertilitycenter.com/ความเสี่ยงในการตั้งครร

Related Posts

02

พ.ย.
ข่าวสาร สาระน่ารู้

ย้ายตัวอ่อนทำเด็กหลอดแก้ว เด็กที่เกิดมายังมีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่?

ย้ายตัวอ่อนทำเด็กหลอดแก้ว เด็กที่เกิดมายังมีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่? ในกระบวนการของกา[…]