ความเสียหายในตัวอ่อนระยะ Blastocyst เกิดจากอะไร?

ความเสียหายในตัวอ่อนระยะ Blastocyst เกิดจากอะไร?

 

เซลล์ตัวอ่อนที่เกิดความเสียหายหรือตายไปในตัวอ่อนระยะ Blastocyst ที่เกิดจากกระบวนการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ หรือตัวอ่อนที่เกิดจากการปฏิสนธิตามธรรมชาติ สามารถเกิดได้จากกระบวนทางธรรมชาติ 2 กระบวนการ ได้แก่ Necrosis และ Apoptosis

โดยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกระบวนการ Necrosis จะเกี่ยวข้องกับการบวมของเซลล์จำนวนมาก และการแตกขาดที่ผนังเซลล์ ส่วนความเสียหายที่เกิดจากกระบวนการ Apoptosis จะมีความเกี่ยวข้องกับขั้นตอนในการเจริญเติบโตของเซลล์ซึ่งจะเกิดกับเซลล์จำนวนน้อยและรวมถึงเปลือกไข่ที่หุ้มอยู่เรียกว่า Zona Pellucida: ZP

โดยเซลล์จะมีการหยุดพัฒนาในตัวอ่อนระยะ Blastocyst ซึ่งเกิดจากการหดตัวของเซลล์ จนทำให้เกิดความเสียหายที่บริเวณนิวเคลียสและผนังเซลล์ และความเสียหายของ DNA

ซึ่งสาเหตุข้างต้นสามารถนำมาพยากรณ์อัตราการเกิดความเสียหายของเซลล์ในตัวอ่อนได้ดังนี้ โดยในตัวอ่อนระยะ Blastocyst Day5 ที่คุณภาพดี มีอัตราความเสียหายหรือตายของเซลล์อยู่ที่ <10%

และอัตราส่วนในตัวอ่อนระยะ Blastocyst Day6 ที่มีคุณภาพไม่ดีคิดเป็นร้อยละ 27 – 38.5% ทำให้ตัวอ่อนหยุดการเจริญเติบโตหรือตายไปจึงทำให้คนไข้บางรายได้ตัวอ่อนที่มีคุณภาพแปรผกผันกับอายุของคนไข้

โดยสาเหตุที่สามารถทำให้เกิดความเสียหายหรือการตายกับตัวอ่อนระยะ Blastocyst เกิดจาก

1. คุณภาพของไข่ที่เก็บได้
2. อายุ และ BMI ของคนไข้ฝ่ายหญิง และ ฝ่ายชาย
3. คุณภาพของตัวอสุจิที่นำไปทำการช่วยการปฏิสนธิ
4. คุณภาพการดำเนินชีวิต ได้แก่ สูบบุหรี่, ดื่มแอลกอฮอล์, การออกกำลังกาย เป็นต้น
5. คุณภาพภายในห้องเพาะเลี้ยงตัวอ่อน

ซึ่งสาเหตุที่ได้ยกตัวอย่างนี้อาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการทำให้เกิดความเสียหายหรือการตายของตัวอ่อน

Reference: Prime Fertility Center Co., Ltd.

สนใจบริการ ทำเด็กหลอดแก้ว ฉีดเชื้อผสมเทียม ฝากไข่ ตรวจสุขภาพ คลิกที่นี่

ทำ ICSIราคา  ICSI ตรวจโครโมโซม

Related Posts

02

พ.ย.
ข่าวสาร สาระน่ารู้

ย้ายตัวอ่อนทำเด็กหลอดแก้ว เด็กที่เกิดมายังมีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่?

ย้ายตัวอ่อนทำเด็กหลอดแก้ว เด็กที่เกิดมายังมีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่? ในกระบวนการของกา[…]