ทำไมการตรวจสุขภาพก่อนแต่งและก่อนมีบุตรจึงสำคัญ?

ทำไมการตรวจสุขภาพก่อนแต่งและก่อนมีบุตรจึงสำคัญ

 

ทำไมการตรวจสุขภาพก่อนแต่งและก่อนมีบุตรจึงสำคัญ?

Meta Title : ทำไมการตรวจสุขภาพก่อนแต่งและก่อนมีบุตรจึงสำคัญ ต้องตรวจอะไรบ้าง?
Meta Description : เตรียมตัวให้พร้อม! ชวนมาดูสาเหตุว่าทำไมถึงควรตรวจสุขภาพก่อนแต่งและก่อนมีบุตร ต้องตรวจอะไรบ้าง? ผลตรวจแบบไหนที่เรียกว่าผิดปกติ รวมไว้ให้ครบแล้ว ตามมาอ่านได้ที่นี่เลย!

___________________________________________________________________________________________________

การเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการแต่งงานและการมีบุตร ไม่เพียงแต่การเตรียมตัวด้านค่าใช้จ่ายเพียงเท่านั้น เรื่องสุขภาพก็เป็นสิ่งที่คู่รักและว่าที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญไม่แพ้กัน โดยเฉพาะการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานและก่อนมีบุตร 

อย่างที่ทราบกันดีว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือโรคทางพันธุกรรมบางอย่างสามารถถ่ายทอดสู่คนรักและลูกได้ ดังนั้นการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานและก่อนมีบุตรจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะจะช่วยให้คู่รักได้รู้ข้อมูลด้านสุขภาพของกันและกัน รวมถึงช่วยให้เห็นโรคที่แฝงอยู่ในร่างกายซึ่งจะทำให้มีโอกาสรักษาหรือป้องกันได้อย่างทันท่วงที 

คู่รักหลายคู่อาจกำลังเกิดความสงสัยเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานและมีบุตรว่า โรคอะไรบ้างที่สามารถติดต่อสู่คนรักและบุตรได้? ถ้าสนใจตรวจสุขภาพต้องตรวจอะไรบ้าง? แล้วผลตรวจแบบไหนกันที่เรียกว่าผิดปกติ?

HDmall.co.th ร่วมกับ Prime Fertility Center จึงได้รวบรวมข้อมูลที่ควรรู้เกี่ยวกับการตรวจสุขภาพก่อนแต่งและก่อนมีบุตรมาให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจไปพร้อมกัน รับรองว่าอ่านจบทุกคนจะมองเห็นความสำคัญแล้วจับมือกันเข้าไปตรวจตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานและก่อนมีบุตรอย่างแน่นอน!  

ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานและก่อนมีบุตรคืออะไร? ทำไมถึงสำคัญ?

การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานและก่อนมีบุตร เป็นการตรวจคัดกรองเพื่อประเมินสุขภาพและความพร้อมต่อการใช้ชีวิตคู่รวมถึงการมีลูกด้วยกันอนาคต 

เนื่องจากพันธุกรรมและโรคบางชนิดสามารถถ่ายทอดไปสู่คู่รักรวมถึงลูกน้อยได้ การตรวจสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะสามารถบอกได้ว่าสุขภาพร่างกายของเรามีความสมบูรณ์หรือมีโรคอะไรแอบแฝงอยู่หรือเปล่า

ดังนั้นคู่รักที่ได้เข้ารับการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานและก่อนมีบุตร ก็ลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ นอกจากนี้ยังช่วยประเมินความเสี่ยงต่อภาวะมีบุตรยากและภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้อีกด้วย

ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานและตรวจสุขภาพก่อนมีบุตร แตกต่างกันอย่างไร?

หลายคนอาจกำลังสับสนว่าการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานและตรวจสุขภาพก่อนมีบุตร มีความแตกต่างกันอย่างไร? ซึ่งการตรวจสุขภาพทั้ง 2 อย่างนี้ มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันดังนี้

การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน มักจะเน้นการตรวจประเมินสภาพร่างกาย การทำงานของระบบอวัยวะต่าง ๆ การตรวจเลือด และการตรวจหาโรคทั่วไป โดยเฉพาะโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังคู่รัก

ส่วนการตรวจสุขภาพก่อนมีบุตร จะเน้นการตรวจคัดกรองเพื่อประเมินความพร้อมของร่างกายและสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ นอกจากนี้ยังมีการตรวจหาโรคที่อาจติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ ตรวจดูพาหะนำโรคสู่ลูกที่แฝงอยู่ในร่างกาย ตรวจความสมบูรณ์และปริมาณของอสุจิในผู้ชาย รวมถึงตรวจภายในและตรวจอัลตราซาวด์เพื่อดูความปกติของมดลูกและรังไข่ในผู้หญิงด้วย

โรคที่สามารถแพร่สู่คู่รักและลูกมีอะไรบ้าง?

1. ซิฟิลิส (Syphilis)

ซิฟิลิส (Syphilis) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการสัมผัสสารคัดหลั่งจนทำให้ติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งโรคนี้หากไม่รีบรักษาให้หาย จะทำให้เกิดการพัฒนาไปถึงระยะร้ายแรงและทำให้เสียชีวิตได้

นอกจากนี้ ซิฟิลิสยังสามารถติดต่อสู่ลูกผ่านทางกระแสเลือดระหว่างการตั้งครรภ์หรือระหว่างการคลอดได้อีกด้วย โดยผลกระทบที่ส่งถึงลูกน้อยในครรภ์ คือ ทำให้ทารกมีพัฒนาการที่ผิดปกติ พิการ คลอดก่อนกำหนด และร้ายแรงสุดถึงขั้นทารกเสียชีวิตในครรภ์หรือเสียชีวิตตั้งแต่แรกเกิดเลย

2. ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B virus) 

ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B virus) เป็นการอักเสบในตับอย่างรุนแรง โดยโรคนี้สามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์และส่งต่อเชื้อไปยังทารกระหว่างการคลอดได้ ซึ่งถ้าหากทารกได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจะทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งตับมากกว่าคนอื่นทั่วไปถึง 200 เท่า

3. HIV (Human Immunodeficiency Virus)

การติดเชื้อ HIV สามารถติดต่อกับคู่รักผ่านการมีเพศสัมพันธ์และส่งต่อไปยังทารกผ่านทางกระแสเลือดระหว่างการตั้งครรภ์ได้ หากไม่รีบป้องกันหรือทำการรักษา จะทำให้ทารถติดเชื้อ HIV และเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

4. หัดเยอรมัน (German Measles) 

หัดเยอรมัน (German Measles) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส Rubella virus ซึ่งสามารถติดต่อกันได้ผ่านการหายใจหรือการสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจของผู้ติดเชื้อ ทำให้เกิดอาการไข้ขึ้น ผื่นคัน ตาแดง ปวดข้อ รวมถึงมีความเสี่ยงเกิดอาการแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์และการเจริญเติบโตของทารก เช่น ติดเชื้อ พิการ และเสียชีวิตหลังคลอด

5. โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) 

โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่สามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกได้ โดยเฉพาะพ่อและแม่ที่ป่วยเป็นธาลัสซีเมียทั้งคู่ ซึ่งผู้ป่วยจะมีโลหิตจางมาก ตัวเหลือง เหนื่อยง่าย ตัวและม้ามโต ในกรณีที่มีความรุนแรงมาก ทารกอาจเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์ได้

ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานต้องตรวจอะไรบ้าง?

  • ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดและเกล็ดเลือด เป็นการตรวจที่ประเมินสุขภาพทั่วไปของร่างกาย โดยตรวจจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด เพื่อค้นหาโรค
  • ตรวจกรุ๊ปเลือดระบบ Rh การตรวจกรุ๊ปเลือดโดยใช้ระบบ RH เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะสามารถใช้ในการประเมินความเข้ากันได้ระหว่างคู่รัก โดยเฉพาะคู่รักที่วางแผนมีลูก ความไม่เข้ากันของ Rh อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้
  • ตรวจกรุ๊ปเลือดระบบ ABO การตรวจกรุ๊ปเลือดมีความสำคัญในกรณีที่จำเป็นต้องให้เลือดในยามฉุกเฉินหรือการรักษาทางการแพทย์ 
  • ตรวจหาธาลัสซีเมีย ธาลัสซีเมียเป็นโรคทางพันธุกรรมที่มีผลต่อการผลิตฮีโมโกลบิน หากพบว่ามีพาหะของธาลัสซีเมียก็ยังมีแนวทางป้องกันการถ่ายทอดความผิดปกติไปยังคนรุ่นต่อ ๆ ไปได้
  • ตรวจหา HIV การติดเชื้อ HIV สามารถติดต่อกับคู่รักผ่านการมีเพศสัมพันธ์และสามารถส่งต่อไปยังทารกผ่านทางกระแสเลือดระหว่างการตั้งครรภ์ การคลอด รวมถึงการให้นมบุตรได้ด้วย ถ้าหากไม่รักษาหรือไม่ป้องกันก็อาจเกิดการติดเชื้อ HIV ในทารกได้ 
  • ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ B และ C การตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ B และ C เป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากเป็นโรคติดเชื้อในตับที่สามารถแพร่เชื้อทางเพศได้ การตรวจพบเจอตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้สามารถจัดการและป้องกันการแพร่เชื้อได้ทันท่วงที
  • ตรวจหาการติดเชื้อซิฟิลิส ซิฟิลิสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ส่งผลร้ายแรงหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา ซึ่งโรคนี้สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ รวมถึงมีผลต่อการตั้งครรภ์ในอนาคตได้
  • ตรวจหาภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบี เป็นกระบวนการทางการแพทย์ที่ใช้ในการตรวจสอบว่าบุคคลนั้นมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบ B หรือไม่ ซึ่งภูมิคุ้มกันต่อไวรัสนี้สามารถเกิดขึ้นได้หลังจากได้รับวัคซีนหรือติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B แล้วร่างกายผลิตภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านไวรัสนี้

ผลตรวจแบบไหนที่ปกติ

  • ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดและเกล็ดเลือด หากผลตรวจของผู้ชายมีค่าฮีโมโกลบินอยู่ที่ระหว่าง 13.5 ถึง 17.5 กรัมต่อเดซิลิตร และผู้หญิงมีค่าฮีโมโกลบินอยู่ที่ระหว่าง 12.0 ถึง 16.00 กรัมต่อเดซิลิตร ถือว่ามีความสมบูรณ์
  • แอนติเจนและแอนติบอดีของไวรัสตับอักเสบบีมีผลเป็นลบ บ่งชี้ว่าไม่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่กำลังทำงานอยู่
  • ผลตรวจแอนติบอดี้ HCV และ HCV RN เป็นลบ แสดงว่าไม่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
  • การตรวจเชื้อซิฟิลิสได้ผลลบ คือ ไม่ได้รับการติดเชื้อซิฟิลิส
  • การตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบี หากมีผลลัพธ์ที่เป็นบวก บ่งชี้ถึงการมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบี ไม่ว่าจะผ่านการติดเชื้อหรือการฉีดวัคซีนครั้งก่อน
  • การตรวจเชื้อ HIV หากมีผลลบ แสดงว่าปกติไม่มีการติดเชื้อ

ผลตรวจแบบไหนที่ผิดปกติ

  • ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดและเกล็ดเลือด หากผลตรวจของผู้ชายมีค่าฮีโมโกลบินต่ำกว่า 13.0 กรัมต่อเดซิลิตร และผู้หญิงมีค่าฮีโมโกลบินต่ำกว่า 12.0 กรัมต่อเดซิลิตร อาจบ่งบอกถึงโรคธาลัสซีเมียหรือโรคโลหิตจาง
  • แอนติเจนและแอนติบอดีของไวรัสตับอัพเสบบีมีผลเป็นบวก อาจบ่งบอกถึงการติดเชื้อในปัจจุบันหรือในอดีต
  • ผลการตรวจแอนติบอดี้ HCV และ HCV RN เป็นบวก แสดงว่ามีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
  • การตรวจเชื้อซิฟิลิสได้ผลบวก คือ ได้รับการติดเชื้อซิฟิลิส
  • การตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบีแล้วมีผลเป็นลบ แสดงว่าขาดภูมิคุ้มกัน ขอแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
  • การตรวจเชื้อ HIV หากมีผลบวก แสดงว่ามีความผิดปกติและมีการติดเชื้อ

ตรวจสุขภาพก่อนมีบุตรต้องตรวจอะไรบ้าง?

ผู้ชาย

  • ตรวจสุขภาพทั่วไป เพื่อดูความสมบูรณ์และความพร้อมของร่างกายก่อนการมีลูก เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต วัดส่วนสูง วัดชีพจร ฯลฯ
  • ตรวจเลือด เช่น ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดและเกล็ดเลือด ตรวจกรุ๊ปเลือดระบบ Rh ตรวจกรุ๊ปเลือดระบบ ABO รวมถึงการตรวจหาเชื้อโรค เช่น ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ซิฟิลิส และเชื้อ HIV
  • ตรวจคุณภาพของสเปิร์ม เป็นการตรวจเพื่อประเมินความสมบูรณ์ของสเปิร์ม รวมถึงจำนวนการเคลื่อนไหวและรูปร่างของอสุจิ

ผู้หญิง

  • ตรวจสุขภาพทั่วไป ตั้งแต่การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดชีพจร ตรวจวัดระดับความดันโลหิต และตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะในกรณีที่ผู้หญิงเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคเบาหวาน จะสามารถส่งผลกระทบต่อแม่และทารกในระหว่างตั้งครรภ์ได้ 
  • ตรวจเลือด เช่น ตรวจกรุ๊ปเลือดระบบ Rh ตรวจกรุ๊ปเลือดระบบ ABO รวมถึงการตรวจหาเชื้อโรค เช่น ไวรัสตับอักเสบบีและซี ซิฟิลิส และเชื้อ HIV เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการถ่ายทอดโรคต่าง ๆ ให้แก่ลูกที่กำลังเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์
  • ตรวจหาภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมัน เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสที่ส่งผลร้ายแรงหากติดเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์ โดยทารกมีโอกาสเจริญเติบโตผิดปกติจนถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิตได้ 
  • ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ เนื่องจากมารดามีโอกาสเสี่ยงเป็นภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งนำไปสู่ภาวะครรภ์เป็นพิษ คลอดก่อนกำหนด และแท้งบุตรได้
  • ตรวจอัลตราซาวด์มดลูกและรังไข่ เพื่อดูความพร้อมรวมถึงความปกติของมดลูกและรังไข่ก่อนตั้งครรภ์

ผลตรวจแบบไหนที่ปกติ

  • ปริมาณอสุจิอยู่ในช่วงปกติ คือ ประมาณ 15-200 ล้านตัวต่อมิลลิลิตร
  • ผลตรวจเลือด ผลตรวจแอนติเจนและแอนติบอดีจากการตรวจหาเชื้อต่าง ๆ มีผลเป็นลบ 
  • ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดและเกล็ดเลือด หากผลตรวจของผู้ชายมีค่าฮีโมโกลบินอยู่ที่ระหว่าง 13.0 ถึง 17.5 กรัมต่อเดซิลิตร และผู้หญิงมีค่าฮีโมโกลบินอยู่ที่ระหว่าง 12.0 ถึง 16.00 กรัมต่อเดซิลิตร ถือว่ามีความสมบูรณ์
  • การตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบี หากมีผลลัพธ์ที่เป็นบวก บ่งชี้ถึงการมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบี ไม่ว่าจะผ่านการติดเชื้อหรือการฉีดวัคซีนครั้งก่อน
  • ผลตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์มีค่าปกติที่ 0.5-5.0 mU/L.
  • ผลตรวจอัลตราซาวด์มดลูกมีความแข็งแรงโดยมีรูปร่างและขนาดที่พอดี รังไข่เป็นปกติโดยไม่มีสัญญาณของการเป็นซีสต์ เนื้องอก หรือความผิดปกติอื่น ๆ 

ผลตรวจแบบไหนที่ผิดปกติ

  • มีปริมาณอสุจิน้อย อสุจิเคลื่อนที่ช้าหรือไม่เคลื่อนที่ นอกจากนี้การที่อสุจิมีรูปร่างไม่ปกติอาจก่อให้เกิดปัญหาในการปฏิสนธิ
  • ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดและเกล็ดเลือด หากผลตรวจของผู้ชายมีค่าฮีโมโกลบินต่ำกว่า 13.5 กรัมต่อเดซิลิตร และผู้หญิงมีค่าฮีโมโกลบินต่ำกว่า 12.0 กรัมต่อเดซิลิตร อาจบ่งบอกถึงโรคธาลัสซีเมียหรือโรคโลหิตจาง
  • ผลตรวจเลือด ผลตรวจแอนติเจนและแอนติบอดีจากการตรวจหาเชื้อต่าง ๆ มีผลเป็นลบ 
  • ตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบีแล้วมีผลเป็นลบ แสดงว่าขาดภูมิคุ้มกัน ขอแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
  • ผลตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์มีค่าสูงหรือต่ำกว่า 0.5-5.0 mU/L.
  • ผลตรวจอัลตราซาวด์พบเจอเนื้องอกในมดลูก ซีสต์รังไข่ หรือกลุ่มอาการรังไข่มีถุงน้ำหลายใบ (PCOS)

การเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพ

  • ไม่จำเป็นต้องงดน้ำงดอาหาร
  • ฝ่ายชายควรงดหลั่งอย่างน้อย 2-7 วันก่อนมาเก็บน้ำเชื้อ

ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานและก่อนมีบุตรที่ไหนดี?

สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานและก่อนมีบุตร แนะนำให้เลือกสถานที่ที่ได้มาตรฐาน แพทย์และพยายาลที่มีประสบการณ์ ใช้เครื่องมือคุณภาพสูง รวมถึงมีการให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล เพราะมีผลต่อคู่รักและลูกในอนาคตโดยตรง

Prime Fertility Center เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ตอบโจทย์สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานและก่อนมีบุตร คลินิกของเราเป็นคลินิกเฉพาะทางที่ให้การรักษาด้านภาวะมีบุตรยากที่ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั่วประเทศ เลือกใช้เทคโนโลยีรักษาภาวะมีบุตรยากที่มีความทันสมัยที่สุด 

ผ่านการรับรองคุณภาพในมาตรฐานระดับสากลอย่าง JCI (Joint Commission International) ของประเทศสหรัฐอเมริกา และผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO 15189 และ ISO 15190 ซึ่งเป็นมาตรฐานด้านการรับรองความสามารถและความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ในระดับสากล 

นอกจากนี้เรายังมีทีมผู้เชี่ยวชาญ นักเพาะเลี้ยงตัวอ่อน และทีมงานมากประสบการณ์ในการดูแลและให้คำปรึกษาแบบครบวงจร สามารถมั่นใจได้เลยว่าการรักษาจะตอบโจทย์และเห็นผลดังที่คาดหวังไว้

หากสนใจเข้ารับการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานและก่อนมีบุตร สามารถติดต่อนัดหมายได้ที่ช่องทางต่อไปนี้

ที่มา :

  • Medpark Hospital, Pre wedding checkup (https://www.medparkhospital.com/en-US/lifestyles/prewedding-checkup), 13 February 2024
  • Parent, 6 Pre-Pregnancy Tests and Health Checks to Consider Before Conceiving (https://www.parents.com/getting-pregnant/pre-pregnancy-health/general/health-checks-to-have-before-becoming-parents/), 13 February 2024
  • HD Mall, ใครบ้างที่ควรจะต้องตรวจโครโมโซมของตัวอ่อน(https://hdmall.co.th/c/detail-of-premarital-screening-program), 13 กุมภาพันธ์ 2567
  • Bangkok Hospital, ตรวจก่อนแต่งพร้อมให้จริงก่อนมีลูก (https://www.bangkokhospital.com/content/check-up-before-marriage), 13 กุมภาพันธ์ 2567

 

สนใจเข้ารับการปรึกษาภาวะมีบุตรยาก
ติดต่อ Prime Fertility Center
โทร : 062-648-6688 / 062-648-8866 / 02-029-1418–9
Line : http://line.me/ti/p/~@primefertility
Facebook : https://www.facebook.com/primefertilitycenter
E-mail : [email protected]

เวลาทำการ
วันจันทร์ – วันพุธ , วันศุกร์และวันเสาร์
เวลา 08.00 – 16:00 น.
หยุดวันพฤหัสบดี วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

 

Related Posts

17

ธ.ค.
ข่าวสาร สาระน่ารู้

พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์!!

พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์!! สำหรับการนอนนี่เป็นเรื่องหลักในการมีลู […]