การแตกหักของดีเอ็นเอในอสุจิ (DNA Fragmentation)

Resources: Fragmentation DNA | invitra.com

 

DNA (Deoxyribonucleic acid) คือ สารประกอบอินทรีย์โมเลกุลขนาดใหญ่ ที่บรรจุข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต หากดีเอ็นเอมีการแตกหักหรือเสียหาย จะส่งผลให้เซลล์มีการทำงานที่ผิดปกติ เมื่อเกิดการแบ่งเซลล์ ลักษณะที่ผิดปกตินี้จะถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่น จนเกิดการกลายพันธุ์

อสุจิเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศชายที่มีหน้าที่ในการปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ และถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมสู่รุ่นลูก ดังนั้นความเสียหายที่เกิดขึ้นในดีเอ็นเอของอสุจิ (Sperm DNA damage) จะส่งผลดังนี้
• อัตราการปฎิสนธิลดลง
• คุณภาพของตัวอ่อนลดลง
• อัตราการฝังตัวของตัวอ่อนลดลง
• อัตราการแท้งสูงขึ้น

สาเหตุที่ทำให้ดีเอ็นเอในอสุจิแตกหัก (Sperm DNA Fragmentation) มีหลายประการด้วยกัน เช่น การเกิดภาวะเครียด (Oxidative Stress) อายุที่เพิ่มขึ้น การสูบบุหรี่ มลพิษในสิ่งแวดล้อม และรูปแบบการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม โดยปัจจัยเหล่านี้สามารถส่งผลต่ออสุจิให้มีสารอนุมูลอิสระมากเกินไป นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปร่างและการทำงานที่ผิดปกติของอสุจิ จนทำให้ดีเอ็นเอเกิดความเสียหายและแตกหักได้

การตรวจความสมบูรณ์ของดีเอ็นเอของอสุจิสามารถตรวจได้โดยใช้เทคนิค Sperm chromatin dispersion test ด้วยชุดตรวจ Halosperm G2 โดยอสุจิที่มีดีเอ็นเอสมบูรณ์เมื่อผ่านกระบวนการ DNA denaturation เพื่อเอาโปรตีนออกจากส่วนหัวของอสุจิ จะพบลักษณะที่เรียกว่า “Halo” รอบส่วนหัวของอสุจิ หากอสุจิมีดีเอ็นเอที่แตกหัก ไม่สมบูรณ์ จะไม่พบลักษณะ Halo หรือพบน้อยมากๆ

ผลการตรวจจะช่วยเลือกเทคนิคในการรักษาภาวะมีบุตรยากได้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น เช่น เตรียมอสุจิด้วยวิธี MACS Sperm หรือการทำ IMSI เพื่อเพิ่มโอกาสสำเร็จในการรักษามีบุตรยาก

Reference: Prime Fertility Center Co., Ltd.

สนใจเข้ารับการปรึกษาภาวะมีบุตรยาก
ติดต่อ Prime Fertility Center
โทร : 062-648-6688 / 062-648-8866 / 02-029-1418–9
Line : http://line.me/ti/p/~@primefertility
Facebook : https://www.facebook.com/primefertilitycenter
E-mail : [email protected]

เวลาทำการ
วันจันทร์ – วันพุธ , วันศุกร์และวันเสาร์
เวลา 08.00 – 16:00 น.
หยุดวันพฤหัสบดี วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

 

Related Posts

02

พ.ย.
ข่าวสาร สาระน่ารู้

ย้ายตัวอ่อนทำเด็กหลอดแก้ว เด็กที่เกิดมายังมีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่?

ย้ายตัวอ่อนทำเด็กหลอดแก้ว เด็กที่เกิดมายังมีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่? ในกระบวนการของกา[…]